ss อาชีพเสริม การเลี้ยงหนอนนก ต้นทุนต่ำเลี้ยงไม่ยากคู่แข่งน้อย รายได้ดี - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

อาชีพเสริม การเลี้ยงหนอนนก ต้นทุนต่ำเลี้ยงไม่ยากคู่แข่งน้อย รายได้ดี

วันนี้ผมขอนำเอาิอาชีพเสริม หรืออาชีพอิสระว่าด้วยการเลี้ยงหนอนนก ซึ่งคงจะถูกอกถูกใจกับผู้เลี้ยงนกหรือเลี้ยงไก่ทั้งหลาย ซึ่งหนอนนกนั้นสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อการค้า ทำเป็นอาชีพได้ด้วย ซึ่งต้นทุนการในเลี้ยงก็ไม่สูง แถมราคาขายในท้องตลาดก็ราคาดี ที่สำคัญคู่แข่งในอาชีพนี้ยังมีน้อยด้วย นี่จึงเป็นโอกาสสำหรับท่านที่ต้องการหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ก็ลองศึกษาการเลี้ยงหนอนนกเพื่อเอามาทำเป็นอาชีพได้เลยครับ

อาชีพเสริมอาชีพอิสระการเลี้ยงหนอนนก

การเพาะเลี้ยงหนอนนกเพื่อการค้า

ด้วยหนอนนกเป็นแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรที่มีขนาดใหญ่ที่สุด การเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์ ดังนี้ ระยะไข่ 5-7 วัน ระยะหนอน 75-90 วัน ระยะดักแด้ 5-7 วัน ระยะตัวเต็มวัย 5-6 เดือน

แมลงชนิดนี้มีระยะหนอนที่ยาวนานและหนอนมีคุณค่าทางอาหารสูงเมื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง จึงมีผู้นิยมนำมาเพาะขยายพันธุ์เพื่อผลิตเป็นอาหารสัตว์เชิงการค้า เช่น เป็นอาหารสัตว์ปีก ปลาสวยงาม กระรอก ฯลฯ ดังนั้น เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถเพาะสัตว์หนอนนกได้เองก็จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ได้

ขั้นตอนการเลี้ยง

1. นำอาหารไก่ 500 กรัม เทลงในถาดอะลูมิเนียมใส่หนอนนกประมาณ 300 ตัว จากนั้นใช้สำลีชุบน้ำหรือน้ำผึ้งผสมน้ำให้ชุ่มพอหมาดวางลงกลางถาด (หมั่นเติมน้ำเป็นระยะอย่าให้น้ำแห้ง) ปิดด้วยตาข่ายมุ้ง วางบนชั้นสำหรับเลี้ยงแมลงหรือเลี้ยงในห้องที่มีมุ้งลวด เมื่อหนอนขับถ่ายมูลออกมามากควรใช้ตะแกรงร่อนเอาตัวหนอนออกและนำไปใส่ถาดใหม่ เติมอาหารทุก 1-2 สัปดาห์

2. เมื่อเลี้ยงได้ระยะหนึ่งหนอนนกจะเข้าดักแด้ ซึ่งจะไม่กินอาหารประมาณ 5-7 วัน แยกดักแด้ออกมาใส่ลงในถาดใหม่ เมื่อดักแด้เปลี่ยนเป็นตัวเต็มวัยให้แยกไปไว้ในถาดที่มีอาหารเหมือนกันการเริ่มเลี้ยงหนอนโดยใส่ตัวเต็มวัยถาดละ 100-150 คู่ ตัวเต็มวัยจะเริ่มผสมพันธุ์หลังออกจากดักแด้ประมาณ 7 วัน ตัวเมียจะวางไข่ตัวละ 1-2 ฟอง/วัน อายุการวางไข่ 40-50 วัน

3. หลังจากตัวเต็มวัยวางไข่แล้ว 7 วัน ให้แยกตัวเต็มวัยออกจากถาดเดิม นำไปเลี้ยงในอาหารถาดใหม่เพื่อให้ตัวเต็มวัยวางไข่และเจริญเติบโตเป็นตัวหนอนซึ่งใช้เวลา 5-7 วัน ระยะหนอนจะลอกคราบ 10-14 ครั้ง หรือมีอายุ 76-90 วัน (ระยะการขายอายุประมาณ 60 วัน) ทำการเลี้ยงขยายอย่างว่องไว และแยกใส่ถาดอาหารใหม่ทุก 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ไข่หรือหนอนที่มีขนาดใกล้เคียงกันเป็นชุด ๆ

ศัตรูของหนอนนก

 ศัตรูพืชของหนอนนก ได้แก่ มอดแป้ง มด แมลงสาบ ที่อาจจะติดมากับอาหาร ดังนั้น ควรนำอาหารไปแช่แข็งประมาณ 7 วัน หรืออบอาหารที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติก่อนนำมาเป็นอาหารหนอนนก ศัตรูอื่นๆ ได้แก่ จิ้งจก นก และหนู

ต้นทุนการเลี้ยงหนอนนก

การผลิตหนอนนก 1 กิโลกรัมใช้ต้นทุนประมาณ 70 บาท ใช้เวลาการผลิต 8-9 สัปดาห์ ซึ่งปัจจุบันหนอนนกราคากิโลกรัมละ 150-200 บาท (ขึ้นอยู่กับตลาด)

หากท่านใดสนใจการเลี้ยงขยายพันธุ์ "หนอนนก" สามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร  โทรศัพท์ 0 2579 7813-4 ในวัน เวลาราชการ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนอนนก

    ชื่อสามัญ : Mealworm
    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tenebrio molitor L.
    อันดับ : Coleoptera
    วงศ์ : Tenebrionidae

หนอนนกมีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะโปรตีนและไขมัน เหมาะสมในการนำไปเป็นอาหารแก่สัตว์บกและสัตว์น้ำ เช่น นก ไก่ ปลา ฯลฯ  เนื่องจากหนอนนกมีช่วงเวลาที่เป็นหนอน (ตัวอ่อน)ที่ยาวนาน จึงสามารถที่จะเลือกหนอนนกได้ตามความเหมาะสมของสัตว์ที่เลี้ยง

ไข่ของหนอนนกมีลักษณะเป็นสีขาว  ค่อนข้างยาว  มีสีขาวนวล ผิวเป็นมันรูปร่างรี  ขนาดประมาณ 0.8 - 1.8 มิลลิเมตร  จนถึงขนาด  1.5 - 2 มิลลิเมตร  ชอบวางไข่บริเวณก้นถาด  หรือติดกับอาหาร  สังเกตเห็นได้ยาก  ต้องอาศัยความชำนาญและสังเกตบ่อย ๆ การฟักตัวใช้เวลาประมาณ 7 - 10 วัน  จนเป็นตัวอ่อน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศ  ฤดูหนาวจะฟักออกเป็นตัวช้ากว่าฤดูร้อน

 ระยะนี้ตัวจะยาวมาก  ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีสีขาว  ขนาดเท่าเส้นด้ายยาว 2 - 3 มิลลิเมตร  มีปล้องจำนวน  9  ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีขนาดเล็ก  ลำตัวผอมยาว  ลักษณะคล้ายทรงกระบอก  ขาสั้น  เมื่อส่องด้วยกล้องจะมองเห็นเส้นข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาลและบนเส้นบ้างลำตัวมีรูหายใจ  ปล้องละ  1  รู  จากนั้นจะค่อย  ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ใช้ระยะเวลาประมาณ 55 - 80 วันก็จะกลายเป็นตัวดักแด้

ดักแด้หนอนนกจะเป็นแบบ Exarate Pupa ส่วนหัวโตแล้วค่อย ๆ เรียวเล็กลงไปทางด้านหาง  เมื่อเข้าดักแด้ใหม่ ๆ ตัวจะเป็นสีขาว ลำตัวเหยียดตรง  หลังจากนั้นจะงอตัวทางด้านท้องแล้วเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน  จนกระทั่งเข้มขึ้นเรื่อย ๆ   ส่วนหัวพับเข้าหาส่วนอก  ส่วนปีกพับไปอยู่ระหว่างขาเดินคู่ที่สอง  และ คู่ที่สาม  จะนอนนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหว  นอกจากจะมีสิ่งรบกวน  อาจมีการเคลื่อนไหวบ้างเล็กน้อย โดยการดึงหน้าท้องเข้าออก  ระยะนี้ตัวจะอ่อนนุ่ม  แต่ในช่วงท้ายจะแข็ง  ในระยะดักแด้ใช้เวลา 6 - 8 วัน ก่อนที่จะเป็นตัวเต็มวัย

หลังจากเข้าดักแด้แล้ว 6 - 8 วัน  จะมีการลอกคราบอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อออกมาเป็นตัวเต็มวัย  โดยดันตัวออกมาส่วนหัวจะออกมาก่อน  ตัวเต็มวัยที่ออกมาจากดักแด้ใหม่ ๆ มีลำตัวสีขาวนวล  ด้านท้องบริเวณอกจะมีสีเหลืองอ่อน  ส่วนหัว  ขา  และหนวด มีสีน้ำตาลเข็ม  ตามีสีดำ  หลังจากนั้นส่วนต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม 

ไปหน้าแรก   อาชีพเสริมแก้จน



เรียบเรียงบทความจาก kasetporpeang.com โดยคุณ vud

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top