วันนี้ผมมีอาชีพเสริมที่สามารถทำเป็นอาชีพอิสระหารายได้เสริมให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี และสามารถทำรายได้ค่อนข้างดีด้วย แต่ต้องขอบอกก่อนว่าการจะทำอาชีพนี้ได้ ต้องมีทักษะในด้านภาษาค่อนข้างดีถึงดีมาก อาจจะเรียกได้ว่าต้องฟัง พูด อ่าน เขียน ได้คล่องแคล่วกันเลยทีเดียว และที่สำคัญต้องมีทักษะในการตีความด้วย อาชีพเสริมที่ว่านี้ก็คือ อาชีพนักแปลภาษานั่นเอง
และผมก็มีข้อคิดสำหรับผู้อยากเป็นนักแปลเอกสารมืออาชีพ ซึ่ง คุณธนิต ธรรมสุคติ อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และผู้แปลวรรณกรรมดังๆ ของโลกมากมาย เช่น โชกุน (เจมส์ คลาเวลล์) , เดอะ ก๊อดฟาเธอร์ (มาริโอ พูโซ), วันลอบสังหาร (เฟรเดอริค ฟอร์ไซท์) ฯลฯ ให้คำแนะนำไว้ในวารสาร "ปากไก่" ไว้ว่าการที่คุณ ฝันอยากเป็นนักแปลภาษามืออาชีพนั้น ลองสำรวจดูตัวเองมีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่
1. ความอยาก จะต้องมีความอยากจะแปลก่อน จึงจะเป็นนักแปลได้ ไม่ว่าจะอยากแปลเพราะอยากดัง หรืออยากได้เงิน หรืออยากให้คนอื่นได้อ่านงานเขียนที่ดีของชาติอื่น ภาษาอื่น
2. ความอดทน อยากแปลอย่างเดียวไม่พอ จะต้องมีความอดทนด้วย หากขาดความอดทนแล้ว จะไม่มีทางแปลเรื่องได้จบ การแปลหนังสือโดยเฉพาะอย่างยิ่งนวนิยายหรือสารคดีเรื่องยาว ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก จะต้องต่อต้าน "มาร" ต่างๆ ที่ตามผจญหรือชักชวนให้ไปทำอย่างอื่น
3. ความต่อเนื่อง เมื่อลงมือแปลแล้วจะต้องทำต่อเนื่องไม่หยุด จึงจะแปลได้จบเรื่อง หากหยุดกลางคันแล้วคิดจะเริ่มทำต่อนั้นยากมาก อีกทั้งอารมณ์ที่ถ่ายทอดให้แก่ตัวละครที่แปลอาจจะเปลี่ยนแปรไปโดยจะมองเห็น ได้จากลักษณะการใช้คำพูดบรรยาย
4. ตีบทละครให้แตก นักแปลก็คือผู้กำกับการแสดง ต้องตีบทตัวละครแต่ละตัวออก ต้องแยกแยะได้ว่า ตัวละครตัวนี้จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่นักแปลก็เช่นเดียวกับนักเขียน คือผู้กำกับโดยคำที่เขียนเป็นตัวหนังสือ ส่วนผู้กำกับการแสดง กำกับโดยให้นักแสดงแต่ละคนแสดงออกมาด้วยหน้าตาท่าทาง
5. ความรู้ในภาษาที่แปล จะต้องมีความรู้ภาษาต้นฉบับ เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน ค่อนข้างดี ต้องอ่านรู้เรื่อง มิฉะนั้นจะตีบทไม่แตก และจะทำให้ขาดความต่อเนื่อง และขาดความอดทน แล้วก็จะทำให้หมดความอยากแปล
6 .ความรู้ภาษาไทย สำนวนแปลของเราจะทำให้ผู้อ่านติดใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้ในภาษาไทยของผู้แปลแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คำ และคำที่สำคัญที่สุด คือ คำสรรพนาม ต้องศึกษาให้ดีที่สุด
7. ความช่างสังเกต นอกเหนือจากคุณสมบัติทั้ง 6 ข้อ ถ้าต้องการเป็นนักแปลที่ดียิ่งขึ้น จะต้องดูลีลาการเดินเรื่อง การใช้คำพูดและศัพท์ที่ใช้ในภาษาต้นฉบับให้ละเอียด แล้วแปลเป็นภาษาไทยด้วยลีลาการใช้คำพูดภาษาไทย และศัพท์ภาษาไทยให้ใกล้เคียงกัน
8. ลงมือเดี๋ยวนี้ หากคิดว่าตนเองมีคุณสมบัติครบ 6 ข้อ หรือทั้ง 7 ข้อ แล้วจะเป็นนักแปลได้ ไม่มีทางเป็นได้ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ถ้าไม่ลงมือแปลทันทีที่อ่านเรื่องที่อยากจะแปลจนทะลุปรุโปร่งแล้ว
9. จงรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ จงถือคำวิจารณ์เป็นสิ่งที่ให้กำลังใจ แม้ว่าบางครั้งคำวิจารณ์นั้นจะไม่ยุติธรรมและถูกต้องก็ตาม จงมานะ เอาชนะคำวิจารณ์ให้ได้ อย่าเสียใจจนเลิกแปลไปเลย จงคิดว่า ถ้าไม่ต้องการถูกวิจารณ์ก็จงเก็บต้นฉบับไว้ที่บ้านเพื่ออ่านเองคนเดียว
ไปหน้าแรก อาชีพเสริมแก้จน
และผมก็มีข้อคิดสำหรับผู้อยากเป็นนักแปลเอกสารมืออาชีพ ซึ่ง คุณธนิต ธรรมสุคติ อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และผู้แปลวรรณกรรมดังๆ ของโลกมากมาย เช่น โชกุน (เจมส์ คลาเวลล์) , เดอะ ก๊อดฟาเธอร์ (มาริโอ พูโซ), วันลอบสังหาร (เฟรเดอริค ฟอร์ไซท์) ฯลฯ ให้คำแนะนำไว้ในวารสาร "ปากไก่" ไว้ว่าการที่คุณ ฝันอยากเป็นนักแปลภาษามืออาชีพนั้น ลองสำรวจดูตัวเองมีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่
1. ความอยาก จะต้องมีความอยากจะแปลก่อน จึงจะเป็นนักแปลได้ ไม่ว่าจะอยากแปลเพราะอยากดัง หรืออยากได้เงิน หรืออยากให้คนอื่นได้อ่านงานเขียนที่ดีของชาติอื่น ภาษาอื่น
2. ความอดทน อยากแปลอย่างเดียวไม่พอ จะต้องมีความอดทนด้วย หากขาดความอดทนแล้ว จะไม่มีทางแปลเรื่องได้จบ การแปลหนังสือโดยเฉพาะอย่างยิ่งนวนิยายหรือสารคดีเรื่องยาว ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก จะต้องต่อต้าน "มาร" ต่างๆ ที่ตามผจญหรือชักชวนให้ไปทำอย่างอื่น
3. ความต่อเนื่อง เมื่อลงมือแปลแล้วจะต้องทำต่อเนื่องไม่หยุด จึงจะแปลได้จบเรื่อง หากหยุดกลางคันแล้วคิดจะเริ่มทำต่อนั้นยากมาก อีกทั้งอารมณ์ที่ถ่ายทอดให้แก่ตัวละครที่แปลอาจจะเปลี่ยนแปรไปโดยจะมองเห็น ได้จากลักษณะการใช้คำพูดบรรยาย
4. ตีบทละครให้แตก นักแปลก็คือผู้กำกับการแสดง ต้องตีบทตัวละครแต่ละตัวออก ต้องแยกแยะได้ว่า ตัวละครตัวนี้จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่นักแปลก็เช่นเดียวกับนักเขียน คือผู้กำกับโดยคำที่เขียนเป็นตัวหนังสือ ส่วนผู้กำกับการแสดง กำกับโดยให้นักแสดงแต่ละคนแสดงออกมาด้วยหน้าตาท่าทาง
5. ความรู้ในภาษาที่แปล จะต้องมีความรู้ภาษาต้นฉบับ เช่น ภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน ค่อนข้างดี ต้องอ่านรู้เรื่อง มิฉะนั้นจะตีบทไม่แตก และจะทำให้ขาดความต่อเนื่อง และขาดความอดทน แล้วก็จะทำให้หมดความอยากแปล
6 .ความรู้ภาษาไทย สำนวนแปลของเราจะทำให้ผู้อ่านติดใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้ในภาษาไทยของผู้แปลแต่ละคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้คำ และคำที่สำคัญที่สุด คือ คำสรรพนาม ต้องศึกษาให้ดีที่สุด
7. ความช่างสังเกต นอกเหนือจากคุณสมบัติทั้ง 6 ข้อ ถ้าต้องการเป็นนักแปลที่ดียิ่งขึ้น จะต้องดูลีลาการเดินเรื่อง การใช้คำพูดและศัพท์ที่ใช้ในภาษาต้นฉบับให้ละเอียด แล้วแปลเป็นภาษาไทยด้วยลีลาการใช้คำพูดภาษาไทย และศัพท์ภาษาไทยให้ใกล้เคียงกัน
8. ลงมือเดี๋ยวนี้ หากคิดว่าตนเองมีคุณสมบัติครบ 6 ข้อ หรือทั้ง 7 ข้อ แล้วจะเป็นนักแปลได้ ไม่มีทางเป็นได้ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ถ้าไม่ลงมือแปลทันทีที่อ่านเรื่องที่อยากจะแปลจนทะลุปรุโปร่งแล้ว
9. จงรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ จงถือคำวิจารณ์เป็นสิ่งที่ให้กำลังใจ แม้ว่าบางครั้งคำวิจารณ์นั้นจะไม่ยุติธรรมและถูกต้องก็ตาม จงมานะ เอาชนะคำวิจารณ์ให้ได้ อย่าเสียใจจนเลิกแปลไปเลย จงคิดว่า ถ้าไม่ต้องการถูกวิจารณ์ก็จงเก็บต้นฉบับไว้ที่บ้านเพื่ออ่านเองคนเดียว
ไปหน้าแรก อาชีพเสริมแก้จน