สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมขอนำเอาเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับการทำอาชีพเกษตรแบบพอเพียง หรือเกษตรกรแบบชีววิถี ซึ่งนำเอาแนวคิดการดำเนินชีวิตด้วยความพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพ ซึ่งก็สามารถทำรายได้ให้กับเจ้าของไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทต่อปี
นายพัฒน์พงษ์ มงคลกาญจนคุณ เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาส่วนผสม อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า พื้นที่ทำไร่ของตนปัจจุบันเป็นศูนย์ถ่ายทอดการเกษตรประจำอำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งตั้งมาเมื่อปี พ.ศ.2549 ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ อาทิการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยเขื่อนศรีนครินทร์ ในโครงการชีววิถี สนับสนุนเรื่ององค์ความรู้ การศึกษาดูงาน นำไปดูงานในหลายๆพื้นที่ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมพัฒนาชุมชนส่งเสริมด้านการตลาด กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมด้านความรู้เรื่องการพัฒนาดิน กรมวิชาการเกษตรสนับสนุนเรื่องการออกใบอนุญาตการเพาะปลูกพืชปลอดสารพิษ พืชอินทรีย์ กรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนให้ความรู้ด้านการจดบัญชีครัวเรือน เป็นต้น
นายพัฒน์พงษ์ เล่าว่า อดีตพื้นที่แห่งนี้มีปัญหาเรื่องดิน เพราะมีการปลูกพืชที่ใช้สารเคมีเป็นตัวสช่วยในการเพาะปลูกมากเกิดความจำเป็น และต่อเนื่อง นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบพืชไร่ เช่น ข้าวโพด พริก ซึ่งนอกเหนือจะเป็นที่มาของสภาพดินแล้วการดำเนินการก็ยังขาดทุน รายได้ไม่คุ้มรายจ่าย
“ชีวิตก็เสี่ยงเรื่องของการใช้สารเคมี ต้นทุนก็สูง ผลการผลิตก็ตกต่ำ รายได้ก็ไม่ต่อเนื่อง เลยปรับเปลี่ยนชีวิตกลับมาพลิกฟื้นดิน ใช้ระบบของอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด หยุดการใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด โดยหยุดเพาะปลูกเพื่อพักดิน 2 ปี จากนั้นปลูกพืชปุ๋ยพืชสด ไถกลบ หว่านปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ฉีดน้ำหมีกชีวภาพโดยขอการสนับสนุนจาก การไฟฟ้าที่เขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งที่นั้นมีโครงการชีววิถี เปิดอบรมชาวบ้าน และสอนให้ทำ น้ำหมักชีวภาพ ก็ไปเรียนรู้แล้วนำมาทำเอง ทุกขั้นตอนในการผลิตมีการจดบันทึก ก็พบว่าสามารถลดรายจ่ายได้มาก” นายพัฒน์พงษ์ กล่าว
จากอดีตปีหนึ่งได้ผลผลิตครั้งเดียวเพราะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็น พืชไร่ และ รอน้ำฝนอย่างเดียว โดยปลูกพริก ปลูกข้าวโพด แต่เมื่อหันมาปรับระบบปลูกใหม่โดยทำแบบไร่นาสวนผสม ก็มีรายได้ทุกวัน รายได้ระยะสั้น คือ พืชผักจากในไร่ เลี้ยงไก่ไข่กินเอง ที่เหลือก็ให้กับสมาชิกที่มาอยู่กับศูนย์ ไปกินที่บ้าน ที่เหลือก็ขาย
รายได้ต่อปีตอนนี้ จากที่มีการทำบัญชีครัวเรือนหักค่าใช้จ่ายแล้วอยู่ที่ 1 ล้าน 2 แสนบาท มีที่ดิน 39 ไร่ พืชหลักที่ปลูกคือ มะละกอ กับ กล้วย โดยพืชทั้งสองชนิดนี้จะปลูกเต็มพื้นที่ทั้ง 39 ไร่ เพราะเป็นไม้โตเร็วให้ผลผลิตต่อเนื่อง จากนั้นปลูกพืชยืนต้นประเภทให้ผล รวมถึงปลูกไผ่เพื่อนำต้นมาใช้ประโยชน์ในไร่ ตัดหน่อขาย เลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยให้หากินในไร่ ลดแรงงานในการตัดหญ้า เพราะไก่จะกัดกินหญ้า
“วิธีลดต้นทุนในการประกอบอาชีพอีกส่วนหนึ่งก็คือการเลี้ยงสัตว์ โดย เลี้ยงไก่ไข่เพื่อกินไข่ เลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้กินเนื้อ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงหมูหลุม เพื่อเอามูลหมูมาใช้ในแปลงเพาะปลูก ตอนหลังได้ไปศึกษาดูงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็ได้รับความรู้ในการผลิตแก๊สจากมูลหมูมาใช้ในครัวเรือน ตอนนี้ลดต้นทุนเรื่องของแก๊สในครัวเรือน ได้เดือนละ 200 บาท “เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาส่วนผสมกล่าว
ส่วนไผ่ที่ปลูก จะเป็นไผ่ลวกหวาน เป้าหมายเบื้องต้นคือเพื่อเอาลำไผ่มาใช้ประโยชน์ในไร่ นับตั้งแต่ เสารั่ว ปักเป็นหลักค้ำยังต้นพืชที่ปลูก จักสารภาชนะเพื่อใช้ประโยชน์ในไร่ เช่นสุ่มไก่ รังไก่ ไปจนถึงชั้นวางของภายในโรงเรือนที่เลี้ยงสัตว์ ระหว่างการตัดแต่งกอไผ่ก็ตัดหน่อไปกินและขาย
จากความสำเร็จในการทำการเกษตรแบบสวนผสมเชิงชีววิธีที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากโครงการชีววิถีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีศูนย์สาธิตอยู่ในพื้นที่ให้กับเกษตรกรโดยรอบเขื่อนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานแล้วนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตน ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกของนายพันฒน์พงษ์ ได้กลายเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแบบเกษตรผสมผสานให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียงเข้าศึกษาดูงาน ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจเดินทางเข้าชมอย่างต่อเนื่อง
ไปหน้าแรก อาชีพเสริมอาชีพอิสระแก้จน
เรียบเรียงบทความจาก www.dailynews.co.th/agriculture/233964
นายพัฒน์พงษ์ มงคลกาญจนคุณ เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาส่วนผสม อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า พื้นที่ทำไร่ของตนปัจจุบันเป็นศูนย์ถ่ายทอดการเกษตรประจำอำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งตั้งมาเมื่อปี พ.ศ.2549 ที่ผ่านมา โดยความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ อาทิการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยเขื่อนศรีนครินทร์ ในโครงการชีววิถี สนับสนุนเรื่ององค์ความรู้ การศึกษาดูงาน นำไปดูงานในหลายๆพื้นที่ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กรมพัฒนาชุมชนส่งเสริมด้านการตลาด กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมด้านความรู้เรื่องการพัฒนาดิน กรมวิชาการเกษตรสนับสนุนเรื่องการออกใบอนุญาตการเพาะปลูกพืชปลอดสารพิษ พืชอินทรีย์ กรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนให้ความรู้ด้านการจดบัญชีครัวเรือน เป็นต้น
นายพัฒน์พงษ์ เล่าว่า อดีตพื้นที่แห่งนี้มีปัญหาเรื่องดิน เพราะมีการปลูกพืชที่ใช้สารเคมีเป็นตัวสช่วยในการเพาะปลูกมากเกิดความจำเป็น และต่อเนื่อง นิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบพืชไร่ เช่น ข้าวโพด พริก ซึ่งนอกเหนือจะเป็นที่มาของสภาพดินแล้วการดำเนินการก็ยังขาดทุน รายได้ไม่คุ้มรายจ่าย
“ชีวิตก็เสี่ยงเรื่องของการใช้สารเคมี ต้นทุนก็สูง ผลการผลิตก็ตกต่ำ รายได้ก็ไม่ต่อเนื่อง เลยปรับเปลี่ยนชีวิตกลับมาพลิกฟื้นดิน ใช้ระบบของอินทรีย์ ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด หยุดการใช้สารเคมีโดยเด็ดขาด โดยหยุดเพาะปลูกเพื่อพักดิน 2 ปี จากนั้นปลูกพืชปุ๋ยพืชสด ไถกลบ หว่านปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ฉีดน้ำหมีกชีวภาพโดยขอการสนับสนุนจาก การไฟฟ้าที่เขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งที่นั้นมีโครงการชีววิถี เปิดอบรมชาวบ้าน และสอนให้ทำ น้ำหมักชีวภาพ ก็ไปเรียนรู้แล้วนำมาทำเอง ทุกขั้นตอนในการผลิตมีการจดบันทึก ก็พบว่าสามารถลดรายจ่ายได้มาก” นายพัฒน์พงษ์ กล่าว
จากอดีตปีหนึ่งได้ผลผลิตครั้งเดียวเพราะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็น พืชไร่ และ รอน้ำฝนอย่างเดียว โดยปลูกพริก ปลูกข้าวโพด แต่เมื่อหันมาปรับระบบปลูกใหม่โดยทำแบบไร่นาสวนผสม ก็มีรายได้ทุกวัน รายได้ระยะสั้น คือ พืชผักจากในไร่ เลี้ยงไก่ไข่กินเอง ที่เหลือก็ให้กับสมาชิกที่มาอยู่กับศูนย์ ไปกินที่บ้าน ที่เหลือก็ขาย
รายได้ต่อปีตอนนี้ จากที่มีการทำบัญชีครัวเรือนหักค่าใช้จ่ายแล้วอยู่ที่ 1 ล้าน 2 แสนบาท มีที่ดิน 39 ไร่ พืชหลักที่ปลูกคือ มะละกอ กับ กล้วย โดยพืชทั้งสองชนิดนี้จะปลูกเต็มพื้นที่ทั้ง 39 ไร่ เพราะเป็นไม้โตเร็วให้ผลผลิตต่อเนื่อง จากนั้นปลูกพืชยืนต้นประเภทให้ผล รวมถึงปลูกไผ่เพื่อนำต้นมาใช้ประโยชน์ในไร่ ตัดหน่อขาย เลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยให้หากินในไร่ ลดแรงงานในการตัดหญ้า เพราะไก่จะกัดกินหญ้า
“วิธีลดต้นทุนในการประกอบอาชีพอีกส่วนหนึ่งก็คือการเลี้ยงสัตว์ โดย เลี้ยงไก่ไข่เพื่อกินไข่ เลี้ยงไก่พื้นบ้านไว้กินเนื้อ เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงหมูหลุม เพื่อเอามูลหมูมาใช้ในแปลงเพาะปลูก ตอนหลังได้ไปศึกษาดูงานกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก็ได้รับความรู้ในการผลิตแก๊สจากมูลหมูมาใช้ในครัวเรือน ตอนนี้ลดต้นทุนเรื่องของแก๊สในครัวเรือน ได้เดือนละ 200 บาท “เกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาส่วนผสมกล่าว
ส่วนไผ่ที่ปลูก จะเป็นไผ่ลวกหวาน เป้าหมายเบื้องต้นคือเพื่อเอาลำไผ่มาใช้ประโยชน์ในไร่ นับตั้งแต่ เสารั่ว ปักเป็นหลักค้ำยังต้นพืชที่ปลูก จักสารภาชนะเพื่อใช้ประโยชน์ในไร่ เช่นสุ่มไก่ รังไก่ ไปจนถึงชั้นวางของภายในโรงเรือนที่เลี้ยงสัตว์ ระหว่างการตัดแต่งกอไผ่ก็ตัดหน่อไปกินและขาย
จากความสำเร็จในการทำการเกษตรแบบสวนผสมเชิงชีววิธีที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากโครงการชีววิถีของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีศูนย์สาธิตอยู่ในพื้นที่ให้กับเกษตรกรโดยรอบเขื่อนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานแล้วนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตน ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกของนายพันฒน์พงษ์ ได้กลายเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแบบเกษตรผสมผสานให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ในพื้นที่ และจังหวัดใกล้เคียงเข้าศึกษาดูงาน ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจเดินทางเข้าชมอย่างต่อเนื่อง
ไปหน้าแรก อาชีพเสริมอาชีพอิสระแก้จน
เรียบเรียงบทความจาก www.dailynews.co.th/agriculture/233964