เผยประสบการณ์ปลูกตะไคร์ เงินล้าน จากหนุ่มวิศวกรเงินแสนสู่เกษตรกรเงินล้านเต็มขั้น
สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้ผมไปเจอเรื่องราวดี ๆ ของคนสู้ชีวิตที่ดำเนินชีวิตการทำงานแบบพลิกขั้วกลับด้านอย่างไม่น่าเชื่อ จากหนุ่มวิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน หันเหสู่อาชีพเกษตรกรปลูกตะไคร้เงินล้าน กับพื้นที่กว่า 100 ไร่ เขาเป็นใครและทำได้อย่างไร มาติดตามกันได้เลยครับ
'ตะไคร้' พืชผักที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพราะด้วยสรรพคุณมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการนอนไม่หลับ อื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ตะไคร้ได้ถูกจัดอยู่ในหนึ่งของสมุนไพร ที่แพทย์แผนไทยนำมาใช้ช่วยบำบัดรักษาอาการของโรคต่างๆ
วันนี้ไม่ได้มาพูดถึง ผลิตภัณฑ์จากตะไคร้ แต่กำลังพูดถึงเกษตรกรที่ปลูกตะไคร้ เพราะที่ผ่านมาตะไคร้เป็นหนึ่งในพืชผักสมุนไพรที่มีการส่งออกอยู่ในอันดับต้นๆ ดังนั้น ความต้องการของตลาดจึงมีสูง ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกตะไคร้กันมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง และหนึ่งในนั้น กำลังพูดถึงหนุ่มวิศวกรที่ผันตัวเองออกมาทำการเกษตร และเขาก็เลือกปลูกตะไคร้บนพื้นที่กว่า 100 ไร่
ทั้งนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า วิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน แต่เลือกมาปลูกตะไคร้ เขาคิดอย่างไร และเขาคิดผิดหรือถูก วันนี้เราจะมาฟัง “คุณพยนต์ มูลเกิด” ได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดที่หันมาทำการเกษตร และเลือกปลูกตะไคร้บนพื้นที่กว่า 100 ไร่นั้น คุ้มหรือไม่ กับพืชที่เกษตรกรมองว่าเป็นพืชผักราคาถูก ปลูกแล้วโอกาสรวยยาก
“พยนต์” เล่าว่า ได้เริ่มต้น ปลูกตะไคร้จากความคิดที่ว่า เป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกอย่างไรก็ได้กิน และตลาดก็ไปได้ เพราะจากการสำรวจที่ตลาดสด ตะไคร้ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ แม้ว่าราคาจะไม่ได้สูงมากนัก ในช่วงบางเวลาถือว่าต่ำกว่าพืชผักอื่นๆ เพราะโดยส่วนตัวครอบครัวของผมทำการเกษตรอยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ก็ทำสวนส้มรังสิต แต่พอเจอปัญหาน้ำท่วม ผลผลิตเสียหายหมด เลยเลิกปลูก ซึ่งผมเองก็ทำงานประจำอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง เรียนจบด้านวิศวกรรม และทำงานด้านนี้มาตลอด 10 กว่าปี ตลอดระยะเวลาการทำงานที่ต้องอยู่กับปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 ออกมาทำงาน รู้สึกเบื่อหน่าย มองว่างั้นลองกลับมาทำการเกษตรที่บ้าน เพราะเราก็พอมีพื้นที่ของครอบครัวอยู่แล้ว ก็น่าที่จะปลูกอะไรขายได้
ทั้งนี้ ที่สำคัญบ้านซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับตลาดขายส่งสินค้าเกษตร อย่าง "ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง" สามารถที่จะนำสินค้าเกษตรของเราไปส่งขายเองได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ราคาจะสูงกว่าเกษตรกรที่ต้องมีคนกลางไปรับซื้อ และที่เลือกปลูกตะไคร้ เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก และที่สำคัญไม่ต้องพึ่งยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีอะไรมากนัก จึงตัดสินใจปลูกตะไคร้
หลังจากตัดสินใจปลูกตะไคร้ และนำตะไคร้ไปขายที่ตลาดไท ตรงจุดนี้เองทำให้ได้รู้จักกับโรงงานที่รับตะไคร้ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่หลายโรงงานและมีความต้องการตะไคร้อยู่อีกเป็นจำนวนมาก ตรงจุดนี้เอง ทำให้ตัดสินใจเช่าพื้นที่รังสิตคลอง 13 จำนวน 100 ไร่ ปลูกตะไคร้ เพื่อป้อนให้โรงงานที่ส่งออกตะไคร้ ปัจจุบันมีลูกค้าที่เป็นโรงงานส่งออกตะไคร้ที่สั่งซื้อตะไคร้จากเราจำนวน 4 ถึง 5 โรงงาน แต่ละโรงงานจะมีความต้องการตะไคร้ วันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 500-1,000 กิโลกรัม ซึ่งการจัดส่งในแต่ละโรงงานจะหมุนเวียนกันไปแต่ละวัน
นอกจากการส่งตะไคร้ขายโรงงาน 4-5 แห่ง ยังมีลูกค้ารายอื่นๆ อย่าง ตลาดไท ซึ่งต้องใช้ตะไคร้ส่งตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง ถึงวันละ 1,000 กิโลกรัม และยังมีลูกค้าจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสั่งตะไคร้จากเราวันหนึ่งประมาณ 1,000 กิโลกรัมเพื่อนำไปส่งขายที่ประเทศมาเลเซีย ดังนั้น ในแต่ละวันจะต้องผลิตตะไคร้ให้ได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม ไปจนถึง 5,000 กิโลกรัม
สำหรับในส่วนของกำลังการผลิต บนพื้นที่ 100 ไร่นั้นผลิตตะไคร้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม เป็นแบบสลับหมุนเวียนเพื่อให้สามารถมีตะไคร้ออกขายได้ทุกวัน และยังมีพื้นที่ของตัวเองอีก 20 ไร่ ตรงนี้ประมาณ 500-800 กิโลกรัมต่อวัน และที่เหลือเราจะใช้การรับซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ได้จำนวนและออเดอร์ที่ต้องการในแต่ละวัน
“พยนต์” บอกถึงราคาตะไคร้ว่า เหมือนพืชผักอื่นๆ ราคาไม่แน่นอน เพราะถ้าเป็นช่วงที่ตะไคร้ไม่โตอย่างช่วงหน้าแล้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาสูงขึ้น บางครั้งเคยสูงถึงราคากิโลกรัมละ 25 บาท ช่วงนั้นจะได้กำไรเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากเราผูกขาดกับโรงงาน สิ่งสำคัญคือ ต้องมีสินค้าป้อนให้โรงงานตลอดไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูไหน ด้วยเหตุนี้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องหาเครือข่าย โดยเราจะหาเกษตรกรที่ปลูกตะไคร้ในพื้นที่ใกล้ๆ โดยไปรับซื้อตะไคร้ถึงไร่ พร้อมกับนำคนงานไปทำตะไคร้ถึงที่ ซึ่งเกษตรกรทำหน้าที่ปลูกอย่างเดียวที่เหลือ เราจะจัดการให้เสร็จ ส่วนราคาซื้อจากเกษตรกร ในช่วงปกติกิโลกรัมละ 7-8 บาท แต่ถ้าราคาเพิ่ม เราก็เพิ่มให้ตามราคาที่พ่อค้าทั่วไปซื้อ
ส่วนตะไคร้ ที่ปลูกเลือกตะไคร้พันธุ์เกษตร เพราะมีลำต้นที่อ้วนอวบ เป็นที่ต้องการของตลาด และโตเร็ว ปลูกง่าย เพราะการส่งขายให้โรงงานที่ส่งออกตะไคร้จะต้องคัดเกรดตะไคร้ ได้ขนาดอย่างที่ต้องการ และต้องลดการใช้สารเคมี ใช้ได้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งเกษตรกรที่เป็นเครือข่ายก็ต้องปฏิบัติตามด้วยเพื่อจะได้มาตรฐานคุณภาพเดียวกัน
และนี่ก็เป็นตัวอย่างของคนสู้ชีวิต รู้จักคิดและพลิกแพลงการทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตอย่างงดงาม และความขยันอดทนก็ก่อให้เกิดความสำเร็จได้อย่างสวยงามครับ
ไปหน้าแรก อาชีพเกษตรทำเงิน
ที่มา www.manager.co.th
สวัสดีครับเพื่อน ๆ วันนี้ผมไปเจอเรื่องราวดี ๆ ของคนสู้ชีวิตที่ดำเนินชีวิตการทำงานแบบพลิกขั้วกลับด้านอย่างไม่น่าเชื่อ จากหนุ่มวิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน หันเหสู่อาชีพเกษตรกรปลูกตะไคร้เงินล้าน กับพื้นที่กว่า 100 ไร่ เขาเป็นใครและทำได้อย่างไร มาติดตามกันได้เลยครับ
'ตะไคร้' พืชผักที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน เพราะด้วยสรรพคุณมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยบำรุงธาตุ ขับเหงื่อ ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการนอนไม่หลับ อื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ตะไคร้ได้ถูกจัดอยู่ในหนึ่งของสมุนไพร ที่แพทย์แผนไทยนำมาใช้ช่วยบำบัดรักษาอาการของโรคต่างๆ
วันนี้ไม่ได้มาพูดถึง ผลิตภัณฑ์จากตะไคร้ แต่กำลังพูดถึงเกษตรกรที่ปลูกตะไคร้ เพราะที่ผ่านมาตะไคร้เป็นหนึ่งในพืชผักสมุนไพรที่มีการส่งออกอยู่ในอันดับต้นๆ ดังนั้น ความต้องการของตลาดจึงมีสูง ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกตะไคร้กันมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง และหนึ่งในนั้น กำลังพูดถึงหนุ่มวิศวกรที่ผันตัวเองออกมาทำการเกษตร และเขาก็เลือกปลูกตะไคร้บนพื้นที่กว่า 100 ไร่
ทั้งนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่า วิศวกรเงินเดือนเฉียดแสน แต่เลือกมาปลูกตะไคร้ เขาคิดอย่างไร และเขาคิดผิดหรือถูก วันนี้เราจะมาฟัง “คุณพยนต์ มูลเกิด” ได้เล่าให้ฟังถึงแนวคิดที่หันมาทำการเกษตร และเลือกปลูกตะไคร้บนพื้นที่กว่า 100 ไร่นั้น คุ้มหรือไม่ กับพืชที่เกษตรกรมองว่าเป็นพืชผักราคาถูก ปลูกแล้วโอกาสรวยยาก
“พยนต์” เล่าว่า ได้เริ่มต้น ปลูกตะไคร้จากความคิดที่ว่า เป็นพืชที่ปลูกง่าย ปลูกอย่างไรก็ได้กิน และตลาดก็ไปได้ เพราะจากการสำรวจที่ตลาดสด ตะไคร้ก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่ แม้ว่าราคาจะไม่ได้สูงมากนัก ในช่วงบางเวลาถือว่าต่ำกว่าพืชผักอื่นๆ เพราะโดยส่วนตัวครอบครัวของผมทำการเกษตรอยู่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ก็ทำสวนส้มรังสิต แต่พอเจอปัญหาน้ำท่วม ผลผลิตเสียหายหมด เลยเลิกปลูก ซึ่งผมเองก็ทำงานประจำอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง เรียนจบด้านวิศวกรรม และทำงานด้านนี้มาตลอด 10 กว่าปี ตลอดระยะเวลาการทำงานที่ต้องอยู่กับปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 ออกมาทำงาน รู้สึกเบื่อหน่าย มองว่างั้นลองกลับมาทำการเกษตรที่บ้าน เพราะเราก็พอมีพื้นที่ของครอบครัวอยู่แล้ว ก็น่าที่จะปลูกอะไรขายได้
ทั้งนี้ ที่สำคัญบ้านซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับตลาดขายส่งสินค้าเกษตร อย่าง "ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง" สามารถที่จะนำสินค้าเกษตรของเราไปส่งขายเองได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ราคาจะสูงกว่าเกษตรกรที่ต้องมีคนกลางไปรับซื้อ และที่เลือกปลูกตะไคร้ เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก และที่สำคัญไม่ต้องพึ่งยาฆ่าแมลง หรือสารเคมีอะไรมากนัก จึงตัดสินใจปลูกตะไคร้
หลังจากตัดสินใจปลูกตะไคร้ และนำตะไคร้ไปขายที่ตลาดไท ตรงจุดนี้เองทำให้ได้รู้จักกับโรงงานที่รับตะไคร้ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งมีอยู่หลายโรงงานและมีความต้องการตะไคร้อยู่อีกเป็นจำนวนมาก ตรงจุดนี้เอง ทำให้ตัดสินใจเช่าพื้นที่รังสิตคลอง 13 จำนวน 100 ไร่ ปลูกตะไคร้ เพื่อป้อนให้โรงงานที่ส่งออกตะไคร้ ปัจจุบันมีลูกค้าที่เป็นโรงงานส่งออกตะไคร้ที่สั่งซื้อตะไคร้จากเราจำนวน 4 ถึง 5 โรงงาน แต่ละโรงงานจะมีความต้องการตะไคร้ วันหนึ่งไม่ต่ำกว่า 500-1,000 กิโลกรัม ซึ่งการจัดส่งในแต่ละโรงงานจะหมุนเวียนกันไปแต่ละวัน
นอกจากการส่งตะไคร้ขายโรงงาน 4-5 แห่ง ยังมีลูกค้ารายอื่นๆ อย่าง ตลาดไท ซึ่งต้องใช้ตะไคร้ส่งตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง ถึงวันละ 1,000 กิโลกรัม และยังมีลูกค้าจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งสั่งตะไคร้จากเราวันหนึ่งประมาณ 1,000 กิโลกรัมเพื่อนำไปส่งขายที่ประเทศมาเลเซีย ดังนั้น ในแต่ละวันจะต้องผลิตตะไคร้ให้ได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม ไปจนถึง 5,000 กิโลกรัม
สำหรับในส่วนของกำลังการผลิต บนพื้นที่ 100 ไร่นั้นผลิตตะไคร้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม เป็นแบบสลับหมุนเวียนเพื่อให้สามารถมีตะไคร้ออกขายได้ทุกวัน และยังมีพื้นที่ของตัวเองอีก 20 ไร่ ตรงนี้ประมาณ 500-800 กิโลกรัมต่อวัน และที่เหลือเราจะใช้การรับซื้อจากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อให้ได้จำนวนและออเดอร์ที่ต้องการในแต่ละวัน
พอถามถึงรายได้ คุณพยนต์เล่าว่า รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนออเดอร์ที่สั่งในแต่ละวัน วันหนึ่งมีออเดอร์ 3,000 กิโลกรัม ขายได้กิโลกรัม 10 บาทสำหรับตลาดทั่วไป แต่ถ้าเป็นโรงงานจะให้ 15 บาท ดังนั้น รายได้ ต่อวันประมาณ 30,000 บาท ถึง 50,000 บาท กำไร หักค่าคนงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าขนส่ง ปุ๋ยเคมีบ้างเล็กน้อย เพราะส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ซึ่งผลิตเอง และค่าเช่าที่ไร่ละ 2,500 บาทต่อปี ดังนั้น หักค่าใช้จ่ายเหลือกำไรประมาณ 50% ซึ่งถ้าเป็นรายได้ต่อเดือนประมาณ 200,000 บาท ถึง 300,000 บาท ต่อปีรายได้รวมหลักล้านบาท แน่นอนเป็นรายได้ที่มากกว่าการทำงานประจำ การตัดสินใจลาออกจากงานและมาทำในครั้งนี้ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
“พยนต์” บอกถึงราคาตะไคร้ว่า เหมือนพืชผักอื่นๆ ราคาไม่แน่นอน เพราะถ้าเป็นช่วงที่ตะไคร้ไม่โตอย่างช่วงหน้าแล้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาสูงขึ้น บางครั้งเคยสูงถึงราคากิโลกรัมละ 25 บาท ช่วงนั้นจะได้กำไรเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจากเราผูกขาดกับโรงงาน สิ่งสำคัญคือ ต้องมีสินค้าป้อนให้โรงงานตลอดไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูไหน ด้วยเหตุนี้เอง จึงจำเป็นที่จะต้องหาเครือข่าย โดยเราจะหาเกษตรกรที่ปลูกตะไคร้ในพื้นที่ใกล้ๆ โดยไปรับซื้อตะไคร้ถึงไร่ พร้อมกับนำคนงานไปทำตะไคร้ถึงที่ ซึ่งเกษตรกรทำหน้าที่ปลูกอย่างเดียวที่เหลือ เราจะจัดการให้เสร็จ ส่วนราคาซื้อจากเกษตรกร ในช่วงปกติกิโลกรัมละ 7-8 บาท แต่ถ้าราคาเพิ่ม เราก็เพิ่มให้ตามราคาที่พ่อค้าทั่วไปซื้อ
ส่วนตะไคร้ ที่ปลูกเลือกตะไคร้พันธุ์เกษตร เพราะมีลำต้นที่อ้วนอวบ เป็นที่ต้องการของตลาด และโตเร็ว ปลูกง่าย เพราะการส่งขายให้โรงงานที่ส่งออกตะไคร้จะต้องคัดเกรดตะไคร้ ได้ขนาดอย่างที่ต้องการ และต้องลดการใช้สารเคมี ใช้ได้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งเกษตรกรที่เป็นเครือข่ายก็ต้องปฏิบัติตามด้วยเพื่อจะได้มาตรฐานคุณภาพเดียวกัน
และนี่ก็เป็นตัวอย่างของคนสู้ชีวิต รู้จักคิดและพลิกแพลงการทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตอย่างงดงาม และความขยันอดทนก็ก่อให้เกิดความสำเร็จได้อย่างสวยงามครับ
ไปหน้าแรก อาชีพเกษตรทำเงิน
ที่มา www.manager.co.th