ss รายได้เสริม: มินิซีรี่ย์ อาชีพอิสระสร้างรายได้เสริมกับธุรกิจ “ร้านค้าราคาเดียว” ตอนที่ 4 (จบ) - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

รายได้เสริม: มินิซีรี่ย์ อาชีพอิสระสร้างรายได้เสริมกับธุรกิจ “ร้านค้าราคาเดียว” ตอนที่ 4 (จบ)

กำไรไม่สำคัญเท่ากับขายจำนวนมาก

ธุรกิจร้านค้าราคาเดียวนี้ทำกำไรอยู่ที่ประมาณ 25-30% แต่ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหลายรายหวังผลตอบแทนที่มากกว่า และเลือกที่จะทำธุรกิจแบบตีหัวเข้าบ้าน ซื้อสินค้าต้นทุนต่ำมาขายโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของสินค้า แม้จะขายได้ในช่วงแรก แต่ยอดขายก็จะค่อย ๆ ซาลงและตายในที่สุด เนื่องจากลูกค้าสมัยนี้ตาถึงไม่แพ้กัน เลือกซื้อแต่สินค้าคุณภาพดี

ดังนั้น การเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงคุณภาพสินค้า เน้นให้ลูกค้าก่อน ถือเป็นหัวใจของความมั่งคั่งในธุรกิจนี้ แม้จะได้กำไรน้อยลง แต่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อทีเป็นจำนวนมาก ทำให้สินค้าขายหมดไว และมีการหมุนเวียนเปลี่ยนสินค้าเข้ามาใหม่อยู่ตลอดเวลา เมื่อลูกค้าเกิดความประทับใจในคุณภาพของสินค้า นอกจากจะกลับมาอุดหนุนอย่างต่อเนื่องแล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้ยังจะเป็นกระบอกเสียงให้กับทางร้าน ทำให้ไม่ต้องเสียงบโฆษณาร้านใด ๆ เลย

อาชีพเสริม รายได้เสริม อาชีพอิสระ ร้านค้าราคาเดียว

อีกสิ่งที่สำคัญคือ การคงคอนเซ็ปต์ความเป็น “ร้านค้าราคาเดียว” ทุกอย่าง 20 บาท ไม่ว่าหยิบชิ้นใดก็ต้อง 20 บาท แต่ทุกวันนี้ลูกค้ามองว่าร้านค้าประเภทนี้จะต้องมีสินค้าขายตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ จึงมักมาถามหาสินค้าที่ตลาดสินค้า 20 บาทไม่สามารถรองรับได้ หากผู้ประกอบการไม่มีจุดยืนที่แข็งแรง ขึ้นป้ายขายทุกอย่าง 20 บาท แต่ภายในร้านมีสินค้าราคาอื่นขายอยู่ด้วย อาจทำให้ลูกค้าเสียความรู้สึกได้ กรณีเลือกสินค้าแล้วมีราคาขายไม่เป็นไปตามที่ป้ายบอก

เมื่อตัดสินใจขายสินค้าราคาเดียว ก็ควรจะเดินหน้าไปบนเส้นทางที่ตนเลือกอย่างชัดเจน และสำหรับผู้ที่สนใจธุรกิจแฟรนไชส์ควรศึกษาข้องตกลงต่าง ๆ ให้ดี หากมีค่าแฟรนไชส์ก็ควรประเมินสิ่งที่เราจะได้รับจากเงินก้อนนั้นด้วยว่าคุ้มค่าหรือไม่

ข้อเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจลงทุน ธุรกิจร้านค้าราคาเดียว


แฟรนไชส์แบรนด์ดัง

     1. ลงทุนสูงตามรูปแบบที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนด แต่ผู้ ลงทุนจะได้ร้านค้าที่ตกแต่งตามแบบ สินค้าพร้อมขายและเปิดร้านขายได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องจัดการอะไรให้ยุ่งยาก
     2. แบรนด์ร้านค้าเป็นที่รู้จัดโดยทั่วไป ลูกค้าผู้บริโภคก็มั่นใจ ถือเป็นแต้มต่อให้ผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องสร้างแบรนด์หรือทำโฆษณาการตลาดเอง
     3. สินค้าที่นำเข้ามามีคุณภาพในระดับหนึ่ง เนื่องจากมีการทดสอบการใช้งานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้บริโภคและมีการคัดแยกสินค้าที่ชำรุดออกก่อนส่งให้แฟรนไชส์ซี
     4. ต้องปฏิบัติตามระบบและกฎที่มีอย่างเคร่งครัด เช่นการสั่งซื้อสินค้ากับเจ้าของแฟรนไชส์เท่านั้น การจัดวางสินค้าตามแบบ เพื่อให้ทุกสาขามีมาตรฐานที่ดีเหมือนกัน
     5. กรณีสินค้าขายไม่ได้ แตกหัก เสียหาย บางแฟรนไชส์มีการการันตีโดยรับเปลี่ยนคืนสินค้า จึงช่วยลดความเสี่ยงให้กับแฟรนไชส์ซี ไม่ให้ทุนจมไปกับสินค้าเหล่านั้น

เปิดร้านสร้างแบรนด์เอง

      1. ลงทุนตามงบประมาณที่มี สามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างหลากหลาย ออกแบบตกแต่งจัดร้านตามที่ใจต้องการ อุปกรณ์มีอยู่แล้วก็ไม่ต้องซื้อใช้ได้เลย
      2. ตั้งชื่อร้านได้ตามชอบ แต่ต้องสร้างแบรนด์เอง ไม่ต้องโด่งดังไปทั่ว ขอแค่เป็นที่รู้จัดของผู้คนในพื้นที่ ดึงดูดคนกลุ่มนี้ให้แวะเข้ามาอุดหนุนที่ร้านก็พอ
      3. สามารถซื้อสินค้าได้จาหลากหลายแหล่ง แต่ควรจะหาแหล่งขายส่งสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม ที่สามารถขายต่อในราคาที่ตั้งไว้ได้
      4. ระบบการบริหารจัดการร้านสามารถตั้งและปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระ เพื่อให้การดำเนินงานหน้าร้านและหลังร้านเป็นไปได้ด้วยความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ
      5. กรณีสินค้าขายไม่ได้ แตกหัก เสียหาย เจ้าของธุรกิจต้องรับความเสี่ยงเอง ชิ้นที่แตกหักก็ต้องยอมขาดทุน แต่ชิ้นที่ขายไม่ได้ก็ต้องใช้วิทยายุทธ์เพื่อให้สินค้าขายออกในที่สุด


ที่มาบทความ นิตยสารเถ้าแก่ใหม่


ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top