อาชีพเสริมอาชีพอิสระ การปลูกมะละกอเงินล้าน จะมีวิธีการปลูกอย่างไร มาติดตามกันได้เลยครับ
มะละกอ เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเพราะมะละกอเป็นไม้ผลที่คนไทยนิยมบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก ทั่วทั้งประเทศไม่มีภาคไหนไม่บริโภคมะละกอ มะละกอใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เช่น เนื้อมะละกอดิบ สามารถนำไปประกอบอาหาร อย่างเช่นส้มตำที่กินกันทุกครัวเรือน มะละกอแช่อิ่ม ดองเค็ม ผลมะละกอสุกทานเป็นผลไม้ และแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ซอส ผลไม้กระป๋อง แยม ลูกกวาด เปลือกมะละกอใช้เป็นอาหารสัตว์ สีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ ผลิตน้ำปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอางเป็นต้น
ปัจจุบันความนิยมของมะละกอมีสูงมากในบ้านเรา มีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจตามความต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมแพ้ไปไม่ถึงดวงดาวเพราะมะละกอมีโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้คือ โรคจุดวงแหวนซึ่งถ้าสวนไหนโรคนี้เข้าแล้วมักจะเสียหายทั้งแปลง ทำให้ผู้ปลูกค่อนข้างเข็ดขยาดกับการปลูกมะละกอ ซึ่งสมัยก่อนจะมีการปลูกมะละกอกันแทบทุกบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีคนกล้าปลูกเพราะกลัวโรคนี้กันทั้งนั้น จึงมีการนำเข้าสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาปลูกทดแทนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมะละกอทานสุกเป็นส่วนใหญ่ซึ่งมีหลากหลายสายพันธ์
ขั้นตอนการปลูกมะละกออินทรีย์
การเพาะเมล็ด
ก่อนเพาะเมล็ดจะต้องมีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ก่อน ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จากต้นมะละกอที่แข็งแรง ไม่เป็นโรค ลูกมะละกอสมบูรณ์ตรงตามพันธุ์ ถ้าได้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นลูกมะละกอที่เกิดจากดอกชุดแรก (คอแรก) หรือลูกมะละกอที่เกิดจากดอกชุดที่สอง (คอสอง) จะดีมาก ให้คัดเลือกจากต้นมะละกอที่เป็นต้นสมบูรณ์เพศหรือต้นกระเทยเท่านั้น อย่าใช้เมล็ดมะละกอจากต้นตัวเมียเด็ดขาดเพราะมะละกอที่เกิดขึ้นใหม่ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเมีย และถ้าจำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ก็ควรซื้อจากแหล่งผลิตที่ไว้วางใจได้เท่านั้น ไม่ควรซื้อมะละกอที่ตลาดมาผ่าเอาเมล็ดปลูกเองเพราะเรามักจะไม่ทราบแหล่งที่ไปที่มาที่แน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่จะกลายพันธุ์
การคัดเลือกเมล็ดจากลูกมะละกอ ให้นำผลมะละกอที่สมบูรณ์มาตัดหัวตัดท้ายแล้วคัดเลือกเมล็ดเอาเฉาะตรงกลางผลเท่านั้น ซึ่งวิธีการนี้จะได้เมล็ดมะละกอที่ตรงตามพันธุ์และมีความเป็นดอกกระเทยหรือดอกสมบูรณ์เพศสูง เมื่อได้เมล็ดมาแล้วให้นำเมล็ดไปขยี้เอาเมือกออก นำไปผึ่งลมให้แห้ง (ไม่ควรนำเมล็ดไปตากแดด) แล้วเก็บเข้าตู้เย็น ไว้ใช้ในการขยายพันธุ์ต่อไป
ขั้นตอนการเพาะเมล็ด
1. นำเมล็ดไปแช่น้ำสะอาดหรือผสมไคโตซาน 5 ซี.ซี ผสมน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 1 คืน ถ้าเมล็ดเก็บไว้นาน หรือ เพาะในช่วงหน้าหนาวให้ นำน้ำร้อน 1 แก้ว ผสมน้ำธรรมดา 1 แก้วลวกเมล็ดก่อน 5 นาทีเพื่อกระตุ้นการงอก แล้วจึงนำไปแช่น้ำสะอาดทิ้งไว้ 1 คืน
2. นำเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว 1 คืนไปล้างให้สะอาด แล้วนำเมล็ดมาแช่ใน สารละลาย วีอาร์โปรเทค (สมุนไพรกระตุ้นการงอก และ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน) อัตราการใช้ 50 ซี.ซี ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที
3. จากนั้นนำเมล็ดมะละกอไปบ่มในกระสอบป่าน 3 วัน 3 คืนวางในห้องน้ำรดน้ำเช้าเย็น แล้วนำไปหยอดลงถาดหลุมสำหรับเพาะเมล็ดหรือถุงเพาะที่เตรียมไว้
การเตรียมดิน
ขั้นที่ 1. การไถดะ ใช้รถไถใหญ่ (60 แรงขึ้นไป) ใช้ผาล 2 หรือ ผาล 3 ไถให้ลึก 30-50 เซ็นติเมตร ให้ทั่วทั้งแปลงที่จะปลูกมะละกอ
ขั้นที่ 2. การไถยกร่อง ใช้ผาล 7 (ผาลพวง 7 จาน) ไถยกร่องวิ่งไปกลับ 2-3 รอบ ตั้งระยะห่างระหว่างร่อง 3 เมตร ก็จะได้ร่องปลูกมะละกอที่สวยงาม (ดังภาพ)
ภาพแสดงการยกร่องสำหรับการปลูกมะละกอ
ข้อดีของการยกร่องสูง
1. ป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า เพราะน้ำจะไม่ท่วมขัง
2. ง่ายต่อการดายหญ้า เพราะพื้นที่เอียงจะดายหญ้าง่ายกว่าพื่นที่ราบ
3. จะเพิ่มรสชาติความหวานตอนเก็บเกี่ยวผลผลิต เพราะจะทำให้พืชไม่ดูดน้ำมากจน
เกินไป
ขั้นตอนการปลูก
1. ระยะการปลูกมะละกอฮอลแลนด์ 2.5 x 2.5 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร
2. ขุดหลุมปลูกเพียงหน้าจอบเดียว (ลึกประมาณ 10-15 เซ็นติเมตร) อย่าขุดหลุมลึก เพราะการขุดหลุมลึกเป็นที่มาของโรครากเน่าและโคนเน่า หลุมลึกเป็นที่ขังของน้ำซึ่งมะละกอไม่ชอบน้ำขังเกินไป
ภาพแสดงระยะการขุดหลุมปลูกมะละกอ
3. ฉีดพ่นสมุนไพรป้องกันโรค เวตา (wata) อัตราการใช้ 200 ซี.ซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลงในหลุมให้ทั่ว กำจัดเชื้อโรคพืชบริเวณผิวดิน
4. รองก้นหลุมด้วย หัวอาหารพืชชนิดเข้มข้น 1 ช้อนต่อ 1หลุม และหว่าน สารปรับปรุงดิน ซุปเปอร์ไฮเทค 1 กำมือลงไปในหลุม แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
ภาพแสดงการใส่หัวอาหารพืชรองก้นหลุม
ภาพแสดงการใส่สารปรับปรุงดิน
5. นำต้นกล้าที่เตรียมไว้แล้วไปจุ่มในสารละลาย วีอาร์โปรเทค อัตราการใช้ 50 ซี.ซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อขยายรากพืช และ สร้างภูมิคุ้มกันโรคไปในตัว ทำให้พืชทนแดดทนร้อนได้ดี
แสดงการจุ่มต้นกล้าก่อนปลูก
6. น้ำต้นกล้าปลูกลงหลุมที่เตรียมไว้ โดยค่อย ๆ ดึงต้นกล้าขึ้นจากถาดหลุด หรือ ถ้าเป็นถุงดำให้บีบถุงก่อนแล้วค่อย ๆ ดึงถุงออก (อย่าดึงต้นกล้าให้ดึงถุงเท่านั้น) แล้วนำต้นกล้าค่อยปลูกลงดินอย่างทะนุ-ถนอม
ภาพแสดงการปลูกมะละกอ
ไปหน้าแรก อาชีพเสริม