อาชีพเสริม อาชีพอิสระ สอนการเพาะถั่วงอกคอนโด ทำกินก็ง่าย ทำขายก็คล่องมีตลาดรองรับ
การเพาะถั่วงอกนั้นมีหลากวิธี ที่สามารถทำกันได้ไม่ยาก แต่ถ้าเรามีพื้นที่อันจำกัด การเพาะถั่วงอกแบบคอนโดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำกันได้ง่ายๆ ไม่เปลืองพื้นที่ และ ยังได้ถั่วงอกในประมาณที่มากอีกด้วย... สวัสดีครับ เพื่อน ๆ ทุกท่าน เพื่อน ๆ ชอบทานถั่วงอกไหมครับ วันนี้ผมนำเอาอาชีพเสริม อาชีพอิสระ เด็ด ๆ มาฝากกันอีกเช่นเคย ต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนและวิธีการเพาะถั่วงอกคอนโด จะเป็นอย่างไร จะมีวิธีการอย่างไร ตามมาดูกันได้เลยครับ
นี่คือวิธีการง่ายๆ สำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นเพาะถั่วงอกคอนโด มีดังนี้
วัสดุ - อุปกรณ์สำหรับการเพาะถั่วงอกคอนโด :
ถังพลาสติกขนาด 30 ลิตร (มีฝาปิด) ทึบแสง รูปทรง กลมหรือเหลี่ยมก็ได้ทำการเจาะรูให้ทั่วก้นถังด้วยสว่าน หรือเหล็กเผาไฟ เพื่อเป็นช่องทางระบายน้ำ จำนวน 1 ถัง
• กระสอบป่านที่ใหม่และสะอาด ตัดเป็นรูปวงกลมขนาดเท่ากับก้นถัง จำนวน 7 แผ่น
• ตะแกรงเหล็กรูขนาด 6 หุน จำนวน 1 แผ่น(จะไม่ใช้ก็ได้)
• ตาข่ายพลาสติก ต้องเป็นพลาสติกเท่านั้น เพราะวัสดุอื่นจะเป็นสนิมได้ง่าย (รูต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียวและตัดเป็นรูปวงกลมเท่ากับก้นถัง) จำนวน 5 แผ่น
•โต๊ะหรือฐานตั้งถังพลาสติก (จำเป็นต้งอมีเพื่อให้มีพื้นที่ว่างระวางถังกับพื้น สำหรับช่องทางการระบายน้ำออกจากถังเพาะถั่วงอก สำหรับเพาะถั่วงอก ความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร
ถังพลาสติกขนาด 30 ลิตร (มีฝาปิด) ทึบแสง รูปทรง กลมหรือเหลี่ยมก็ได้ทำการเจาะรูให้ทั่วก้นถังด้วยสว่าน หรือเหล็กเผาไฟ เพื่อเป็นช่องทางระบายน้ำ จำนวน 1 ถัง
• กระสอบป่านที่ใหม่และสะอาด ตัดเป็นรูปวงกลมขนาดเท่ากับก้นถัง จำนวน 7 แผ่น
• ตะแกรงเหล็กรูขนาด 6 หุน จำนวน 1 แผ่น(จะไม่ใช้ก็ได้)
• ตาข่ายพลาสติก ต้องเป็นพลาสติกเท่านั้น เพราะวัสดุอื่นจะเป็นสนิมได้ง่าย (รูต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียวและตัดเป็นรูปวงกลมเท่ากับก้นถัง) จำนวน 5 แผ่น
•โต๊ะหรือฐานตั้งถังพลาสติก (จำเป็นต้งอมีเพื่อให้มีพื้นที่ว่างระวางถังกับพื้น สำหรับช่องทางการระบายน้ำออกจากถังเพาะถั่วงอก สำหรับเพาะถั่วงอก ความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร
•ถังพักน้ำ(รองรับน้ำที่ไหลออกจากถัวเพาะถั่วงอก) วางไว้บนพื้นเพื่อรองรับน้ำจากการรดต้นถั่วงอก
• เมล็ดถั่วเขียว จำนวนครึ่งกิโลกรัม ที่ผ่านการคัดเลือกเมล็ดลีบเสีย หรือ มอดกินออกแล้ว(คัดใช้แต่เมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้น)นำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่ในน้ำอุ่นเป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือจะใช้วิธีการแช่ในน้ำธรรมดาทิ้งไว้เป็นเวลา 8 ชั่วโมง
หมายเหตุ :
1.นำวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดไปลวกน้ำร้อนก่อน เพื่อฆ่าเชื้อและเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อรา
2.ตั้งถังสำหรับเพาะถั่วงอกบนโต๊ะหรือฐานที่เตรียมไว้
• เมล็ดถั่วเขียว จำนวนครึ่งกิโลกรัม ที่ผ่านการคัดเลือกเมล็ดลีบเสีย หรือ มอดกินออกแล้ว(คัดใช้แต่เมล็ดที่สมบูรณ์เท่านั้น)นำเมล็ดถั่วเขียวไปแช่ในน้ำอุ่นเป็นเวลา 4 ชั่วโมง หรือจะใช้วิธีการแช่ในน้ำธรรมดาทิ้งไว้เป็นเวลา 8 ชั่วโมง
หมายเหตุ :
- ถังขนาดดังกล่าวจะทำการเพาะถั่วงอกได้จำนวนครึ่งกิโลกรัมต่อครั้ง
- วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะถั่วงอกควรทำการลวกน้ำร้อนฆ่าเชื้อ ก่อนนำมาใช้งานในรอบใหม่ทุกครั้ง
- สำหรับกระสอบป่านที่ใช้ในการเพาะถั่วงอกนั้นสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกหลายๆ ครั้ง โดยประมาณแล้วจะมีอายุการใช้งานนาน 3 เดือน /ก่อนนำมาใช้ควรซักล้างทำความสะอาด และตากแดดให้แห้งทุกครั้ง
- ตะแกรงและถังใช้หมุนเวียนได้นานตามสภาพการใช้งานและการดูแลรักษา
1.นำวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดไปลวกน้ำร้อนก่อน เพื่อฆ่าเชื้อและเป็นการป้องกันการเกิดเชื้อรา
2.ตั้งถังสำหรับเพาะถั่วงอกบนโต๊ะหรือฐานที่เตรียมไว้
3.นำตะแกรงเหล็กรูขนาด 6 หุน ตัดพับให้ได้ความสูงประมาณ 2 นิ้ววางไว้ก้นถัง เพื่อเว้นช่องว่างให้รากถั่วงอกได้งอกลงมา
4.นำกระสอบป่านที่ตัดเตรียมไว้ วางลงไปเป็นชั้นที่หนึ่ง 1 แผ่น แล้ววางทับด้วยตาข่ายพลาสติก(มุ้งเขียว-ภาษาชาวบ้าน) จากนั้นนำเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่านการแช่น้ำทิ้งแล้วโรยให้ทั่วบนชั้นตาข่าย
**** ข้อควรระวังคืออย่าให้เมล็ดถั่วเขียวซ้อนทับกัน/เสร็จขั้นตอนนี้จะเท่ากับการเพาะถั่วเขียวได้ 1 ชั้น
5. ทำซ้ำตามขั้นตอนในข้อ4. จนครบทั้ง 5 ชั้น
*** เมื่อครบทั้ง 5 ชั้น ในชั้นสุดท้ายด้านบนสุดจะเป็นเมล็ดถั่วงอก ให้นำกระสอบป่านปิดทับด้านบนอีก 2 ชั้น เพื่อเก็บความชื้น
9. รดน้ำทุกๆ 4-6 ชั่วโมงทุกวัน
วิธีการนับเวลาการเก็บถั่วงอกเพื่อจำหน่าย :
• วันแรกที่เราทำการเพาะถั่วงอก (เราจะไม่นับ)
• วันถัดไปเราจะเริ่มนับเป็นวันที่ 1 ของการเพาะ(รดน้ำเหมือนเดิม) และวันที่ 2 (รดน้ำเหมือนเดิม)
• เข้าสู่วันที่ 3 สามารถเก็บถั่วงอกเพื่อจำหน่ายได้
• โดยช่วงเวลาที่เหมาะสำรับการเก็บถั่วงอกนั้นจะเป็นช่วงเช้า 04.00-05.00 น.
4.นำกระสอบป่านที่ตัดเตรียมไว้ วางลงไปเป็นชั้นที่หนึ่ง 1 แผ่น แล้ววางทับด้วยตาข่ายพลาสติก(มุ้งเขียว-ภาษาชาวบ้าน) จากนั้นนำเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่านการแช่น้ำทิ้งแล้วโรยให้ทั่วบนชั้นตาข่าย
**** ข้อควรระวังคืออย่าให้เมล็ดถั่วเขียวซ้อนทับกัน/เสร็จขั้นตอนนี้จะเท่ากับการเพาะถั่วเขียวได้ 1 ชั้น
5. ทำซ้ำตามขั้นตอนในข้อ4. จนครบทั้ง 5 ชั้น
*** เมื่อครบทั้ง 5 ชั้น ในชั้นสุดท้ายด้านบนสุดจะเป็นเมล็ดถั่วงอก ให้นำกระสอบป่านปิดทับด้านบนอีก 2 ชั้น เพื่อเก็บความชื้น
9. รดน้ำทุกๆ 4-6 ชั่วโมงทุกวัน
วิธีการนับเวลาการเก็บถั่วงอกเพื่อจำหน่าย :
• วันแรกที่เราทำการเพาะถั่วงอก (เราจะไม่นับ)
• วันถัดไปเราจะเริ่มนับเป็นวันที่ 1 ของการเพาะ(รดน้ำเหมือนเดิม) และวันที่ 2 (รดน้ำเหมือนเดิม)
• เข้าสู่วันที่ 3 สามารถเก็บถั่วงอกเพื่อจำหน่ายได้
• โดยช่วงเวลาที่เหมาะสำรับการเก็บถั่วงอกนั้นจะเป็นช่วงเช้า 04.00-05.00 น.
การเก็บเกี่ยวถั่วงอก :
* ใช้มีดคมๆ ตัดรากถั่วงอกออกจากแผ่นที่ใช้ในการเพาะ
* ใช้มีดคมๆ ตัดรากถั่วงอกออกจากแผ่นที่ใช้ในการเพาะ
เป็นไงบ้างครับเพื่อน ๆ จะเห็นว่าไม่ยากเลยใช่ไหมครับ แต่ต้องอาศัยความละเอียดและใส่ใจกันหน่อย แต่ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็ต้องมีความพยายามและความใส่ใจกันทั้งนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประสบผลสำเร็จกับการทำอาชีพนั้น ๆ ไม่ว่าจะทำเป็นอาชีพอิสระ หรืออาชีพเสริม ดังนั้นความมุ่งมั่นเท่านั้นจะทำให้เราประสบความสำเร็จในทุกเรื่องครับ
วิดีโอการเพาะถั่วงอกตัดราก:
วิดีโอการเพาะถั่วงอกตัดราก:
ขอบคุณบทความบางส่วนจาก www.krasop.com
ขอบคุณ vdo จาก youtube
ขอบคุณ vdo จาก youtube