ร้านโชห่วยเป็นที่รู้จักคุ้นหูคุ้นตาประชาชนคนไทยเป็นอย่างดี โดยเป็นร้านขายของกิน ของใช้ ที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของผู้บริโภคจึงทำให้คนไทยมีความผูกพันกับธุรกิจนี้มาช้านาน
แต่ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีกลยุทธ์ด้านการแข่งขันที่ได้เปรียบกว่า ทำให้พฤติกรรมในการจับจ่ายของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ส่งผลให้ร้านโชห่วยจำนวนมากต้องปิดตัวลง
บัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารร้าน เซเว่น อีเลฟเว่นอธิบายภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยว่า ปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เกิดภาวะแข่งขันที่รุนแรงเช่นเดียวกับในประเทศชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากมาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐนำมาใช้ในการเพิ่มกำลังการซื้อให้ผู้บริโภคเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย ธุรกิจค้าปลีกจึงต้องปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
เซเว่น อีเลฟเว่น จึงปรับเปลี่ยนจุดยืนจากร้านสะดวกซื้อเป็นร้านอิ่มสะดวกขายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก ทำให้มีสินค้าแตกต่างไปจากร้านโชห่วยดั้งเดิม ถือว่าเซเว่นฯ และร้านโชห่วยไม่ใช่คู่แข่งกัน ตรงกันข้ามสินค้าของแต่ละฝ่ายต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันเป็นอย่างดีและในฐานะที่เซเว่นฯ เป็นธุรกิจค้าปลีกชั้นนำของคนไทยและประสบความสำเร็จในธุรกิจมาตลอด 20 ปี จึงได้ร่วมกับกรมการค้าภายใน สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ สมาคมพัฒนาธุรกิจปลีกทุนไทยและหอการค้าจังหวัดระยองจัดสัมมนา ทำโชห่วยให้รวยอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 5 ขึ้น เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับร้านโชห่วยหรือธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมของคนไทยด้วยกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อมุ่งหวังมีส่วนร่วมพัฒนาร้านโชห่วยของไทยให้มีศักยภาพเข้มแข็ง มีความสามารถในการแข่งขันและดำรงธุรกิจให้อยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
สำหรับการทำโชห่วยอย่างไรให้รวยอย่างยั่งยืนนั้น นริศ ธรรมเกื้อกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้บรรยายอย่างน่าสนใจว่า เทคนิคการบริหารจัดการค้าปลีกทันสมัย อันดับแรกคือ ลูกค้า เราต้องเอาลูกค้าเป็นตัวตั้งและออกไปสำรวจความต้องการของลูกค้าว่าลูกค้าต้องการอะไรและไม่ต้องการอะไร อันดับที่สองคือ ตลาด สำรวจว่าตลาดอยู่ที่ไหน ลูกค้ามีกี่กลุ่มและแต่ละกลุ่มมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อันดับที่สามคือ การวางแนวทางการดำเนินธุรกิจ ว่าการแข่งขันเป็นอย่างไร สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร และการกำหนดสินค้าและบริการว่าควรเป็นแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อันดับที่สี่คือ ความยึดมั่นของธุรกิจ เช่น ความชัดเจนของธุรกิจที่ทำและความยึดมั่นในแนวคิดแนวทางที่กำหนดไม่วอกแวก
อันดับที่ห้าคือ ทำเลหรือช่องทางจัดจำหน่าย ที่เหมาะสมกับแนวคิดของธุรกิจ เช่น ย่านที่มีการค้าเยอะๆ มีผู้คนผ่านมากที่สุด อันดับที่หก คือ การจัดการภายในร้าน ได้แก่ ชั้นวางควรตั้งอยู่ที่ใด สินค้ากลุ่มใดควรอยู่ที่ใด ปริมาณเท่าใด โดยจัดให้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบเรียบร้อยและการสั่งซื้อสินค้าควรสั่งให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและมีเพียงพอไม่เสียโอกาส ที่สำคัญคือ ตัด, คัด, สั่ง, เรียง หมายถึงการจัดวางหรือจัดเรียง ถ้าสินค้าไหนลูกค้าไม่ต้องการก็ ตัด ออก และ คัด ไว้แต่สินค้าที่ลูกค้าต้องการควร สั่ง สินค้าให้พอดีรวมทั้งจัด เรียง ให้ถูกต้อง และควรบันทึกการขายเพื่อเก็บข้อมูล
อันดับที่ห้าคือ ทำเลหรือช่องทางจัดจำหน่าย ที่เหมาะสมกับแนวคิดของธุรกิจ เช่น ย่านที่มีการค้าเยอะๆ มีผู้คนผ่านมากที่สุด อันดับที่หก คือ การจัดการภายในร้าน ได้แก่ ชั้นวางควรตั้งอยู่ที่ใด สินค้ากลุ่มใดควรอยู่ที่ใด ปริมาณเท่าใด โดยจัดให้เป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบเรียบร้อยและการสั่งซื้อสินค้าควรสั่งให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและมีเพียงพอไม่เสียโอกาส ที่สำคัญคือ ตัด, คัด, สั่ง, เรียง หมายถึงการจัดวางหรือจัดเรียง ถ้าสินค้าไหนลูกค้าไม่ต้องการก็ ตัด ออก และ คัด ไว้แต่สินค้าที่ลูกค้าต้องการควร สั่ง สินค้าให้พอดีรวมทั้งจัด เรียง ให้ถูกต้อง และควรบันทึกการขายเพื่อเก็บข้อมูล
ลำดับสุดท้ายอันดับที่เจ็ด คือ การใช้ข้อมูลกับข้อเท็จจริง โดยการเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์จริง สถานการณ์จริง ระบุถึงเวลาที่เกิดปริมาณที่เกิดและคุณภาพที่เกิด จากนั้นนำมาวิเคราะห์ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าในครั้งต่อไป
นอกจากเทคนิคการบริหารจัดการค้าปลีกแล้ว นริศ ยังให้สูตรการสั่งสินค้าด้วยดังนี้ F+M-I=O โดย F คือ การพยากรณ์ (Forecast) ว่าจะขายดีหรือไม่ดีในอนาคต M คือ จำนวนของในคลัง (Mini mum Stock) เผื่อพอขายได้กี่วันจนกว่าของใหม่จะมาส่ง I คือ รายการสินค้าที่มีอยู่ในร้าน (Inventory) นับจำนวนของในคลังคงเหลือก่อนสั่ง และ O คือ (Order) ยอดสั่งที่ถูกคำนวณแล้ว อย่างไรก็ตามการสร้างเครื่องหมายการค้า (Brand) ก็เป็นสิ่งสำคัญโดยจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อร้านได้ รวมทั้งสามารถให้ลูกค้าต่อรองได้ ถ้าเรามีทั้งหมดนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำและไม่เปลี่ยนไปหาคู่แข่งอย่างแน่นอน
"การสัมมนาครั้งนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำธุรกิจหลายอย่าง จากที่เรารู้แค่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ก็ได้เพิ่มมาอีกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์"
สินีนาฎ และอัญชิสา เพชรพาณิชย์ สองพี่น้องเจ้าของร้านอาหารที่เข้าร่วมงานสัมมนา บอกพร้อมเล่าเพิ่มเติมว่า เดิมทีทำร้านอาหารแต่มีความคิดอยากทำร้านโชห่วยหรือร้านขายของฝากเพิ่มเติมแบบครบวงจร พอทราบข่าวจึงเดินทางมาร่วมสัมมนาด้วย ทำให้ได้ความรู้มากกว่าเดิมเป็น 10 เท่า และความรู้ที่ได้ครั้งนี้นำไปประยุกต์ร้านของตัวเองเพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้า ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้
ด้าน ธัญญานุช อาจรักษา สาวเจ้าของธุรกิจค้าปลีกรายย่อย บอกถึงวัตถุประสงค์ที่มาร่วมงานสัมมนาว่า อยากได้ไอเดียและแนวความคิดใหม่ๆ ไปพัฒนาร้าน รวมทั้งศึกษาธุรกิจอย่างอื่นที่แตกต่างจากแนวเดิมควบคู่ไปด้วย หลังได้ร่วมสัมมนาแล้วรู้สึกว่าได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นหลายอย่าง และรู้สึกดีใจที่หน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสำคัญ เพราะนานแล้วที่ไม่มีใครจัดงานในลักษณะนี้ ที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย โดยเฉพาะเซเว่นฯ ตนไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่งและรู้สึกดีที่ภาคเอกชนก็มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนาธุรกิจค้าปลีกของไทยที่มีมายาวนานตั้งแต่รุ่นต่อรุ่น
ธุรกิจโชห่วยจะไม่มีวันตายถ้าผู้ประกอบการยอมรับความเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง ร้านให้ทันสมัยเข้ากับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลาจะทำให้มีประสิทธิภาพสามารถแข่ง ขันกับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
นอกจากเทคนิคการบริหารจัดการค้าปลีกแล้ว นริศ ยังให้สูตรการสั่งสินค้าด้วยดังนี้ F+M-I=O โดย F คือ การพยากรณ์ (Forecast) ว่าจะขายดีหรือไม่ดีในอนาคต M คือ จำนวนของในคลัง (Mini mum Stock) เผื่อพอขายได้กี่วันจนกว่าของใหม่จะมาส่ง I คือ รายการสินค้าที่มีอยู่ในร้าน (Inventory) นับจำนวนของในคลังคงเหลือก่อนสั่ง และ O คือ (Order) ยอดสั่งที่ถูกคำนวณแล้ว อย่างไรก็ตามการสร้างเครื่องหมายการค้า (Brand) ก็เป็นสิ่งสำคัญโดยจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อร้านได้ รวมทั้งสามารถให้ลูกค้าต่อรองได้ ถ้าเรามีทั้งหมดนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำและไม่เปลี่ยนไปหาคู่แข่งอย่างแน่นอน
"การสัมมนาครั้งนี้ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำธุรกิจหลายอย่าง จากที่เรารู้แค่ 60-70 เปอร์เซ็นต์ก็ได้เพิ่มมาอีกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์"
สินีนาฎ และอัญชิสา เพชรพาณิชย์ สองพี่น้องเจ้าของร้านอาหารที่เข้าร่วมงานสัมมนา บอกพร้อมเล่าเพิ่มเติมว่า เดิมทีทำร้านอาหารแต่มีความคิดอยากทำร้านโชห่วยหรือร้านขายของฝากเพิ่มเติมแบบครบวงจร พอทราบข่าวจึงเดินทางมาร่วมสัมมนาด้วย ทำให้ได้ความรู้มากกว่าเดิมเป็น 10 เท่า และความรู้ที่ได้ครั้งนี้นำไปประยุกต์ร้านของตัวเองเพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้า ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้
ด้าน ธัญญานุช อาจรักษา สาวเจ้าของธุรกิจค้าปลีกรายย่อย บอกถึงวัตถุประสงค์ที่มาร่วมงานสัมมนาว่า อยากได้ไอเดียและแนวความคิดใหม่ๆ ไปพัฒนาร้าน รวมทั้งศึกษาธุรกิจอย่างอื่นที่แตกต่างจากแนวเดิมควบคู่ไปด้วย หลังได้ร่วมสัมมนาแล้วรู้สึกว่าได้ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นหลายอย่าง และรู้สึกดีใจที่หน่วยงานต่างๆ ได้ให้ความสำคัญ เพราะนานแล้วที่ไม่มีใครจัดงานในลักษณะนี้ ที่สำคัญไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย โดยเฉพาะเซเว่นฯ ตนไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่งและรู้สึกดีที่ภาคเอกชนก็มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนาธุรกิจค้าปลีกของไทยที่มีมายาวนานตั้งแต่รุ่นต่อรุ่น
ธุรกิจโชห่วยจะไม่มีวันตายถ้าผู้ประกอบการยอมรับความเปลี่ยนแปลงและปรับปรุง ร้านให้ทันสมัยเข้ากับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลาจะทำให้มีประสิทธิภาพสามารถแข่ง ขันกับธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ไปหน้าแรก อาชีพแก้จน