แนวทางปรับตัวทางธุรกิจของผู้ประกอบการอาหารทะเลแปรรูปจาก จ.ปัตตานี เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและขยายตลาด นำมาสู่การแตกไลน์ธุรกิจ ขายธุรกิจอาชีพกึ่งแฟรนไชส์ ลงทุนน้อยเพียง 25,000 บาท ชูจุดเด่นน้ำจิ้มรสเด็ดเผ็ดถึงใจ มาพร้อมผลิตภัณฑ์หลากหลาย สดใหม่จากทะเลภาคใต้แท้ๆ เลือกได้ทั้งแบบปิ้งหรือทอด ในแบรนด์ “สไปซี่ ซีเฟรช” (Spicy Seafresh)
สุภาวดี โชคสกุลนิมิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยเจริญมารีน (2002) จำกัด เล่าว่า บริษัทฯทำธุรกิจเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มากว่า 10 ปี ช่องทางตลาดส่วนใหญ่จะขายผ่านตัวแทนค้าส่งตามตลาดสดทั่วประเทศ ซึ่งวิธีดังกล่าว ได้กำไรค่อนข้างน้อย ประกอบกับในปีหน้า (2556) ต้นทุนค่าแรงต้องปรับขึ้นตามนโยบายรัฐบาล จึงหาวิธีเพิ่มมูลค่าสินค้าและขยายตลาด ด้วยการเปิดรับผู้สนใจมาเป็นเครือขายธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อเป็นช่องทางขายสินค้าตรงจากโรงงานถึงผู้บริโภค
“เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ดิฉันมองถึงการสร้างแบรนด์และมีหน้าร้านของตัวเอง ทว่า หากเราจะผลิตสินค้าแล้ววางสินค้าขายในห้าง หรือโมเดิร์นเทรด จะต้องลงทุนสูงมาก และยากที่จะแข่งกับแบรนด์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วได้ ดิฉันจึงคิดถึงการกระจายสินค้าในรูปแบบร้านแฟรนไชส์เล็กๆ เพื่อให้เป็นหน้าร้านที่เราสามารถขายสินค้าจากโรงงานไปถึงผู้บริโภคได้โดยตรง รวมถึง ยังช่วยสร้างโอกาสให้ผู้อยากมีอาชีพ โดยไม่ต้องลงทุนมากนักได้ด้วย” เจ้าของธุรกิจ เผยและเล่าต่อว่า
ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ “สไปซี่ ซีเฟรช” เป็นของทะเลจากภาคใต้ มีจุดเด่นอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ จึงมีความสดใหม่สูง นำมาแปรรูปรวมกว่า 16 รายการ เช่น ลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นกุ้ง ลูกชิ้นหมึก ไส้กรอกปลา เต้าหู้ปลา ทอดมัน ปลาจ๊อ กุ้งป๊อป พิชฟรายเป็นต้น
ทั้งนี้ ภายในคีออสจะมีให้เลือกทั้งทอด หรือปิ้งย่านตามความชอบใจ ที่สำคัญ คือ สูตรน้ำจิ้มที่เผ็ดเข็มข้นตามแบบฉบับชาวใต้ แต่สำหรับคนกินเผ็ดไม่เก่ง มีให้เลือกแบบสูตรเผ็ดน้อย และปานกลาง
สุภาวดี เผยด้วยว่า วางตำแหน่งกลุ่มเป้าหมายไว้ที่ผู้บริโภคระดับกลางถึงบน ที่อยากกินของทะเลแปรรูปคุณภาพในราคาไม่สูงเกินไป โดยแต่ละชนิดใส่ส่วนผสมของสัตว์ทะเลในปริมาณมากตั้งแต่ 60-80% (แล้วแต่ประเภท) ซึ่งถือเป็นค่าเฉลี่ยสูงในการทำอาหารทะเลแปรรูป ส่วนการผลิตทำในโรงงานได้มาตรฐานระดับส่งออก ทั้ง GMP HACCP และฮาลาส
ด้านการลงทุนแฟรนไชส์ “สไปซี ซีเฟรช” นั้น สุภาวดี ระบุว่า เงินลงทุนเบื้องต้นจ่ายครั้งเดียวเพียง 25,000 บาท ผู้ลงทุนจะได้รับคีออส พร้อมอุปกรณ์เริ่มอาชีพครบชุด ซึ่งบริษัทฯ ไม่ได้กำไรจากส่วนนี้เลย ทว่า ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ คือต้องรับผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ และน้ำจิ้มจากบริษัทฯเท่านั้น นอกจากนั้น ต้องมีทำเลดีมาเสนอ ซึ่งทางบริษัทฯ กำหนดทำเลเป้าหมาย มุ่งวางตามปั๊มน้ำมันต่างๆ เพื่อให้เป็นของกินเล่นสำหรับคนเดินทาง รวมถึง กำหนดเป้าต้องขายให้ได้อย่างน้อยวันละ 200 ไม้ หรือปริมาณวัตถุดิบ 10 กิโลกรัม
เจ้าของธุรกิจ เสริมว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ กำหนดราคาขายปลีกที่ไม้ละ 13 และ 15 บาท (แล้วแต่ชนิด) โดยเฉลี่ยต่อไม้จะมีต้นทุนประมาณ 9.81 บาท เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพนักงาน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าพลังงาน ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน หากขายได้วันละ 200 ไม้ ผู้ขายจะมีกำไรสุทธิที่ประมาณ 17,140 บาทต่อเดือน ทำให้มีอัตราคืนทุนในระยะเวลา 2 เดือน
“ที่ผ่านมา เรามีสาขาต้นแบบที่เปิดโดยบริษัทเอง กระจายอยู่ในปั๊มน้ำมันทางภาคใต้ ทั้งในปัตตานี หาดใหญ่ และสตูล เป็นต้น ประมาณ 4 แห่ง ซึ่งทุกสาขามียอดขายเกิน 300 ไม้ต่อวัน ดังนั้น เป้าที่ตั้งไว้ให้ 200 ไม้ต่อวัน ถ้าอยู่ในทำเลที่ดี เราเชื่อว่า ทุกสาขาจะทำได้ ซึ่งเราตั้งเป้าว่า ปีนี้ (2555) จะเปิดแฟรนไชส์ประมาณ 20 สาขาทั่วประเทศ” สุภาวดี เผย
สำหรับวิธีบริหารสาขาแฟรนไชส์นั้น บริษัทฯ มีจุดกระจายสินค้าอยู่ในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่ โดยมีรถพร้อมวิ่งส่งผลิตภัณฑ์แช่แข็งที่อุณหภูมิ -18 องศาให้สาขาต่างๆ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง นอกจากนั้น จะควบคุมมาตรฐานแฟรนไชส์ด้วยการดูจากยอดขายสั่งสินค้าและมีทีมคอยตรวจสอบคุณภาพเสมอ
- เงินลงทุนเบื้องต้น 25,000 บาท ได้รับคีออส พร้อมอุปกรณ์ครบชุด
- ต้องรับผลิตภัณฑ์แปรรูป และน้ำจิ้มจากบริษัทฯเท่านั้น
- กำหนดเป้าต้องขายให้ได้อย่างน้อยวันละ 200 ไม้
- อัตราคืนทุนในระยะเวลา 2 เดือน
สุภาวดี โชคสกุลนิมิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยเจริญมารีน (2002) จำกัด เล่าว่า บริษัทฯทำธุรกิจเกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารทะเล มากว่า 10 ปี ช่องทางตลาดส่วนใหญ่จะขายผ่านตัวแทนค้าส่งตามตลาดสดทั่วประเทศ ซึ่งวิธีดังกล่าว ได้กำไรค่อนข้างน้อย ประกอบกับในปีหน้า (2556) ต้นทุนค่าแรงต้องปรับขึ้นตามนโยบายรัฐบาล จึงหาวิธีเพิ่มมูลค่าสินค้าและขยายตลาด ด้วยการเปิดรับผู้สนใจมาเป็นเครือขายธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อเป็นช่องทางขายสินค้าตรงจากโรงงานถึงผู้บริโภค
“เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ดิฉันมองถึงการสร้างแบรนด์และมีหน้าร้านของตัวเอง ทว่า หากเราจะผลิตสินค้าแล้ววางสินค้าขายในห้าง หรือโมเดิร์นเทรด จะต้องลงทุนสูงมาก และยากที่จะแข่งกับแบรนด์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วได้ ดิฉันจึงคิดถึงการกระจายสินค้าในรูปแบบร้านแฟรนไชส์เล็กๆ เพื่อให้เป็นหน้าร้านที่เราสามารถขายสินค้าจากโรงงานไปถึงผู้บริโภคได้โดยตรง รวมถึง ยังช่วยสร้างโอกาสให้ผู้อยากมีอาชีพ โดยไม่ต้องลงทุนมากนักได้ด้วย” เจ้าของธุรกิจ เผยและเล่าต่อว่า
ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ “สไปซี่ ซีเฟรช” เป็นของทะเลจากภาคใต้ มีจุดเด่นอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ จึงมีความสดใหม่สูง นำมาแปรรูปรวมกว่า 16 รายการ เช่น ลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นกุ้ง ลูกชิ้นหมึก ไส้กรอกปลา เต้าหู้ปลา ทอดมัน ปลาจ๊อ กุ้งป๊อป พิชฟรายเป็นต้น
ทั้งนี้ ภายในคีออสจะมีให้เลือกทั้งทอด หรือปิ้งย่านตามความชอบใจ ที่สำคัญ คือ สูตรน้ำจิ้มที่เผ็ดเข็มข้นตามแบบฉบับชาวใต้ แต่สำหรับคนกินเผ็ดไม่เก่ง มีให้เลือกแบบสูตรเผ็ดน้อย และปานกลาง
สุภาวดี เผยด้วยว่า วางตำแหน่งกลุ่มเป้าหมายไว้ที่ผู้บริโภคระดับกลางถึงบน ที่อยากกินของทะเลแปรรูปคุณภาพในราคาไม่สูงเกินไป โดยแต่ละชนิดใส่ส่วนผสมของสัตว์ทะเลในปริมาณมากตั้งแต่ 60-80% (แล้วแต่ประเภท) ซึ่งถือเป็นค่าเฉลี่ยสูงในการทำอาหารทะเลแปรรูป ส่วนการผลิตทำในโรงงานได้มาตรฐานระดับส่งออก ทั้ง GMP HACCP และฮาลาส
ด้านการลงทุนแฟรนไชส์ “สไปซี ซีเฟรช” นั้น สุภาวดี ระบุว่า เงินลงทุนเบื้องต้นจ่ายครั้งเดียวเพียง 25,000 บาท ผู้ลงทุนจะได้รับคีออส พร้อมอุปกรณ์เริ่มอาชีพครบชุด ซึ่งบริษัทฯ ไม่ได้กำไรจากส่วนนี้เลย ทว่า ผู้ลงทุนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ คือต้องรับผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ และน้ำจิ้มจากบริษัทฯเท่านั้น นอกจากนั้น ต้องมีทำเลดีมาเสนอ ซึ่งทางบริษัทฯ กำหนดทำเลเป้าหมาย มุ่งวางตามปั๊มน้ำมันต่างๆ เพื่อให้เป็นของกินเล่นสำหรับคนเดินทาง รวมถึง กำหนดเป้าต้องขายให้ได้อย่างน้อยวันละ 200 ไม้ หรือปริมาณวัตถุดิบ 10 กิโลกรัม
เจ้าของธุรกิจ เสริมว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ กำหนดราคาขายปลีกที่ไม้ละ 13 และ 15 บาท (แล้วแต่ชนิด) โดยเฉลี่ยต่อไม้จะมีต้นทุนประมาณ 9.81 บาท เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพนักงาน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าพลังงาน ที่ประมาณ 14,000 บาทต่อเดือน หากขายได้วันละ 200 ไม้ ผู้ขายจะมีกำไรสุทธิที่ประมาณ 17,140 บาทต่อเดือน ทำให้มีอัตราคืนทุนในระยะเวลา 2 เดือน
“ที่ผ่านมา เรามีสาขาต้นแบบที่เปิดโดยบริษัทเอง กระจายอยู่ในปั๊มน้ำมันทางภาคใต้ ทั้งในปัตตานี หาดใหญ่ และสตูล เป็นต้น ประมาณ 4 แห่ง ซึ่งทุกสาขามียอดขายเกิน 300 ไม้ต่อวัน ดังนั้น เป้าที่ตั้งไว้ให้ 200 ไม้ต่อวัน ถ้าอยู่ในทำเลที่ดี เราเชื่อว่า ทุกสาขาจะทำได้ ซึ่งเราตั้งเป้าว่า ปีนี้ (2555) จะเปิดแฟรนไชส์ประมาณ 20 สาขาทั่วประเทศ” สุภาวดี เผย
สำหรับวิธีบริหารสาขาแฟรนไชส์นั้น บริษัทฯ มีจุดกระจายสินค้าอยู่ในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองใหญ่ โดยมีรถพร้อมวิ่งส่งผลิตภัณฑ์แช่แข็งที่อุณหภูมิ -18 องศาให้สาขาต่างๆ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง นอกจากนั้น จะควบคุมมาตรฐานแฟรนไชส์ด้วยการดูจากยอดขายสั่งสินค้าและมีทีมคอยตรวจสอบคุณภาพเสมอ
- เงินลงทุนเบื้องต้น 25,000 บาท ได้รับคีออส พร้อมอุปกรณ์ครบชุด
- ต้องรับผลิตภัณฑ์แปรรูป และน้ำจิ้มจากบริษัทฯเท่านั้น
- กำหนดเป้าต้องขายให้ได้อย่างน้อยวันละ 200 ไม้
- อัตราคืนทุนในระยะเวลา 2 เดือน
Tag :
108 อาชีพแฟรนไชส์
,
หมวดอาหาร