ธุรกิจ SMEs: บอร์ดสั่งจัดทัพโครงสร้างบริหารเอสเอ็มอีแบงก์ใหม่หมด วาดผังปล่อยสินเชื่อแบบใหม่ ให้อำนาจคณะกรรมการสินเชื่อตัดสินได้เท่านั้น
นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า คณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารของธนาคารจัดการนำเสนอแผนงานเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับแผนฟื้นฟูของธนาคารที่ได้รับความเห็นชอบเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านกลุ่มงานสินเชื่อให้แบ่งงานกันใหม่จากเดิมแบ่งต่างพื้นที่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เป็นให้แบ่งตามขนาดของลูกค้า สำหรับการแบ่งกลุ่มลูกค้าสินเชื่อให้แยกเป็น กลุ่มงานสาขา วิเคราะห์สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 5 ล้านบาท และกลุ่มงานสินเชื่อ วิเคราะห์สินเชื่อเกิน 5 ล้านบาท จนถึงไม่เกิน 500 ล้านบาท
นอกจากนี้ กลุ่มงานสาขาจะต้องทำหน้าที่ด้านการตลาดหาลูกค้าในทุกวงเงิน โดยวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท กลุ่มงานสาขาจะทำการวิเคราะห์และนำเสนออนุมัติเอง ส่วนวงเงินเกิน 5 ล้านบาท ส่งให้กลุ่มงานสินเชื่อเป็นผู้ดำเนินการ “สำหรับรูปแบบการอนุมัติสินเชื่อ จากเดิมที่มีทั้งร่วมกันอนุมัติระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติ หรือให้คณะกรรมการสินเชื่ออนุมัติไปเลย ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นแบบใหม่คือจะให้คณะกรรมการสินเชื่อเป็นผู้อนุมัติสินเชื่อทั้งหมด เพื่อให้สะดวกในการดำเนินงาน” นายนริศกล่าว
นายนริศกล่าวอีกว่า คณะกรรมการธนาคารยังได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารทำการบันทึกบัญชีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แบบใหม่ โดยต้องนำหนี้ที่คาดว่าจะเป็นเอ็นพีแอลในอนาคตมาบันทึกในบัญชีปัจจุบันด้วย เพื่อให้สะท้อนสถานะที่แท้จริงของกิจการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้หนี้เอ็นพีแอลที่สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท สูงเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า คณะกรรมการเอสเอ็มอีแบงก์ได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารของธนาคารจัดการนำเสนอแผนงานเพื่อปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับแผนฟื้นฟูของธนาคารที่ได้รับความเห็นชอบเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านกลุ่มงานสินเชื่อให้แบ่งงานกันใหม่จากเดิมแบ่งต่างพื้นที่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เป็นให้แบ่งตามขนาดของลูกค้า สำหรับการแบ่งกลุ่มลูกค้าสินเชื่อให้แยกเป็น กลุ่มงานสาขา วิเคราะห์สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 5 ล้านบาท และกลุ่มงานสินเชื่อ วิเคราะห์สินเชื่อเกิน 5 ล้านบาท จนถึงไม่เกิน 500 ล้านบาท
นอกจากนี้ กลุ่มงานสาขาจะต้องทำหน้าที่ด้านการตลาดหาลูกค้าในทุกวงเงิน โดยวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท กลุ่มงานสาขาจะทำการวิเคราะห์และนำเสนออนุมัติเอง ส่วนวงเงินเกิน 5 ล้านบาท ส่งให้กลุ่มงานสินเชื่อเป็นผู้ดำเนินการ “สำหรับรูปแบบการอนุมัติสินเชื่อ จากเดิมที่มีทั้งร่วมกันอนุมัติระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติ หรือให้คณะกรรมการสินเชื่ออนุมัติไปเลย ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นแบบใหม่คือจะให้คณะกรรมการสินเชื่อเป็นผู้อนุมัติสินเชื่อทั้งหมด เพื่อให้สะดวกในการดำเนินงาน” นายนริศกล่าว
นายนริศกล่าวอีกว่า คณะกรรมการธนาคารยังได้สั่งการให้ฝ่ายบริหารทำการบันทึกบัญชีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) แบบใหม่ โดยต้องนำหนี้ที่คาดว่าจะเป็นเอ็นพีแอลในอนาคตมาบันทึกในบัญชีปัจจุบันด้วย เพื่อให้สะท้อนสถานะที่แท้จริงของกิจการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้หนี้เอ็นพีแอลที่สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท สูงเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม