ถนนเยาวราชเป็นแหล่งรวมอาหารรสเลิศนานาชนิด มีเจ้าเก่าแก่ขึ้นชื่อจำนวนมาก แต่หากเจาะจงที่เครื่องดื่ม “น้ำบ๊วย” แล้ว หนึ่งในเจ้าดังต้องยกให้ร้านที่ปากซอยเท็กซัส สุกี้ โดยปัจจุบัน กิจการครอบครัวได้ตกทอดมาถึงทายาทรุ่น 3 ที่เข้ามาสานต่อและต่อยอด ด้วยการขายธุรกิจกึ่งแฟรนไชส์ เพื่อสร้างอาชีพแก่ผู้สนใจ และสร้างแบรนด์น้ำบ๊วยแท้สูตรจีนโบราณให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
บุญสืบ พงศธรเสถียร ทายาทรุ่น 3 เล่าให้ฟังว่า อากงของเขาเป็นชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทยตั้งแต่พ.ศ.2468 หรือเมื่อกว่า 80 ปีที่แล้ว ยึดอาชีพหาบแร่ขาย “น้ำบ๊วย” ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ติดตัวมาตั้งแต่ครั้นอยู่เมืองจีน
จากอาชีพหาบแร่ขายน้ำบ๊วย แก้วละไม่กี่สตางค์ในเวลานั้น สามารถเก็บเงิน เซ้งตึกแถว บนถนนเจริญกรุง ปากซอยเท็กซัส สุกี้ได้สำเร็จ ซึ่งระยะแรกเปิดเป็นร้านโชวห่วยขายสินค้าหลายชนิด และมีน้ำบ๊วยตั้งหน้าร้านขายควบคู่กันไป ทว่า เมื่อเวลาผ่านไป ค่อยๆ ทยอยเลิกขายสินค้าทีละอย่าง จนสุดท้าย เหลือเพียงขายน้ำบ๊วยเท่านั้น ซึ่งได้รับความนิยมตลอดมา จนเป็นอาชีพหลักที่เลี้ยงดูลูกหลาน และสร้างครอบครัวให้มีฐานะเข้มแข็ง
ทายาทรุ่น 3 เผยว่า น้ำบ๊วยของอากง เป็นสูตรต้นตำรับของชาวจีนแท้ๆ ในเมืองไทยหากินได้ยาก ประกอบด้วยผลไม้ 5 ชนิด ที่เปิดเผยได้ คือ ผลบ๊วย กับเลมอน ผลไม้ทั้งหมดต้องนำเข้าจากประเทศจีน ด้านวิธีการจะนำไปหมักบ่มรวมกันในถังไม้นานกว่า 3 ปี โดยไม่มีการใส่สารปรุงรสใดๆ เลย รวมถึงไม่มีการใส่สารกันบูดใดๆ เช่นกัน ดังนั้น รสชาติน้ำบ๊วยที่ได้จึงมาจากรสของผลไม้ธรรมชาติล้วนๆ เมื่อดื่มแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ และนุ่มลิ้นมากกว่าน้ำบ๊วยบรรจุขวดโหลทั่วไปที่ผสมน้ำเชื่อมและเกลือ
นอกจากนั้น ก่อนจะตักใส่แก้วเสิร์ฟให้ลูกค้า ต้องนำไปคนผสมกับน้ำเปล่า และน้ำแข็งในโถเซรามิกที่นำเข้าจากเมืองจีน ซึ่งมีความหนาเป็นพิเศษ ช่วยเก็บรักษาความเย็น และรสชาติได้เป็นอย่างดี
บุญสืบ เผยว่า หลังอากงเสียชีวิต ได้รับมอบหมายจากบรรดาญาติพี่น้องให้ปลีกเวลาจากธุรกิจบริษัทโฆษณาของตัวเอง มาช่วยสานต่อกิจการน้ำบ๊วย เพราะถือเป็นสมบัติครอบครัว เป็นที่มาของการขยายธุรกิจในรูปแบบขายอาชีพกึ่งแฟรนไชส์ เพื่อหาตัวแทนกระจายสินค้าในวงกว้าง
“ที่ผ่านมา เราจะได้รับเชิญไปออกบูทในฐานะร้านดังจากเยาวราชบ่อยมาก ทำให้พบเห็นพฤติกรรมผู้บริโภคว่า มีผู้นิยมกินน้ำบ๊วยทุกเพศ ทุกวัย และทุกระดับฐานะ ดังนั้น ช่องทางตลาดยังเปิดอีกกว้าง แต่เราไม่สามารถจะไปขายได้เองทั้งหมด ทำให้ผมคิดถึงการขยายธุรกิจอาชีพ ซึ่งจะกระจายจุดขายได้กว้างขวาง เพราะปัจจุบัน มีผู้สนใจอยากหาอาชีพจำนวนมาก ซึ่งอาชีพขายน้ำบ๊วย มีความน่าสนใจ เพราะทำได้ง่าย และผลกำไรสูง” บุญสืบ ระบุ
ด้านรูปแบบลงทุน เป็นคีออสมีให้เลือก 3 ขนาด ได้แก่ 14,000 บาท 21,500 บาท และ 26,000 บาท ทั้งหมดได้รับอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น คีออส โกเซรามิกใส่น้ำบ๊วย แก้ว เสื้อฟอร์ม เป็นต้น มีเงื่อนไขสำคัญ ต้องรับหัวน้ำบ๊วยและแก้วจากส่วนกลาง และต้องผสมหัวน้ำบ๊วยกับน้ำเปล่าและน้ำแข็งในอัตราส่วนที่กำหนดเท่านั้น มิเช่นนั้น จะทำให้รสชาติผิดเพี้ยนจากต้นตำรับ
สำหรับการขายปลีกหน้าร้าน มี 2 แบบ คือ 1.ขายเป็นแก้ว โดยจะส่งเป็นหัวน้ำบ๊วยบรรจุขวด 10 ลิตร ราคา 400 บาท เมื่อนำไปผสมน้ำเปล่าแล้ว จะขายแก้วขนาด 18 ออนซ์ ได้จำนวน 65 แก้ว รวมค่าแก้วกระดาษ กับค่าน้ำแข็ง เฉลี่ยต้นทุนประมาณ 6-7 บาทต่อแก้ว เมื่อนำไปขายปลีกแก้วละ 20 บาท และ 2.ส่งเป็นน้ำบ๊วยบรรจุขวดสำเร็จรูป ราคาส่งขวดละ 15 บาท ผู้ขายสามารถนำไปขายปลีกได้ในราคาขวดละ 25-30 บาท
ทั้งนี้ มีบริการส่งวัตถุดิบให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ยอดสั่งอย่างต่ำครั้งละ 2,000 บาท เบื้องต้นเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล นอกจากนั้น มีบริการแนะนำทำเลตั้งร้าน โดยผู้สนใจอาชีพนี้ ควรมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับเป็นค่าเช่า และค่าวัตถุดิบต่างๆ ประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน
บุญสืบ ระบุด้วยว่า ที่ผ่านมา มีร้านค้า ร้านอาหารรับน้ำบ๊วยไปขายประจำอยู่แล้วจำนวนมาก แต่ในส่วนขยายรูปแบบกึ่งแฟรนไชส์เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 นี่เอง ซึ่งได้การตอบรับอย่างสูง เวลานี้กำลังอยู่ในขั้นตอนคัดเลือกผู้ลงทุนที่เหมาะสม
สำหรับปัจจุบัน ยังมีน้ำบ๊วยบรรจุในถังไม้เก็บสต๊อกไว้ขายได้อีกกว่า 9 ปี อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับตลาดที่กำลังจะเติบโต ได้ลงทุนสั่งซื้อเครื่องจักร สำหรับผสมวัตถุดิบผลไม้ 5 ชนิด และเครื่องบรรจุขวด นอกจากนั้น ในอนาคตจะปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยใช้แบรนด์ว่า “เพี้ย หวัง” เพื่อจะส่งน้ำบ๊วยสูตรของอากง ไปขายตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เคียงคู่กับน้ำอัดลม หรือน้ำชาเชียวต่อไป
บุญสืบ พงศธรเสถียร ทายาทรุ่น 3 เล่าให้ฟังว่า อากงของเขาเป็นชาวจีนโพ้นทะเลเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทยตั้งแต่พ.ศ.2468 หรือเมื่อกว่า 80 ปีที่แล้ว ยึดอาชีพหาบแร่ขาย “น้ำบ๊วย” ซึ่งเป็นวิชาชีพที่ติดตัวมาตั้งแต่ครั้นอยู่เมืองจีน
จากอาชีพหาบแร่ขายน้ำบ๊วย แก้วละไม่กี่สตางค์ในเวลานั้น สามารถเก็บเงิน เซ้งตึกแถว บนถนนเจริญกรุง ปากซอยเท็กซัส สุกี้ได้สำเร็จ ซึ่งระยะแรกเปิดเป็นร้านโชวห่วยขายสินค้าหลายชนิด และมีน้ำบ๊วยตั้งหน้าร้านขายควบคู่กันไป ทว่า เมื่อเวลาผ่านไป ค่อยๆ ทยอยเลิกขายสินค้าทีละอย่าง จนสุดท้าย เหลือเพียงขายน้ำบ๊วยเท่านั้น ซึ่งได้รับความนิยมตลอดมา จนเป็นอาชีพหลักที่เลี้ยงดูลูกหลาน และสร้างครอบครัวให้มีฐานะเข้มแข็ง
ทายาทรุ่น 3 เผยว่า น้ำบ๊วยของอากง เป็นสูตรต้นตำรับของชาวจีนแท้ๆ ในเมืองไทยหากินได้ยาก ประกอบด้วยผลไม้ 5 ชนิด ที่เปิดเผยได้ คือ ผลบ๊วย กับเลมอน ผลไม้ทั้งหมดต้องนำเข้าจากประเทศจีน ด้านวิธีการจะนำไปหมักบ่มรวมกันในถังไม้นานกว่า 3 ปี โดยไม่มีการใส่สารปรุงรสใดๆ เลย รวมถึงไม่มีการใส่สารกันบูดใดๆ เช่นกัน ดังนั้น รสชาติน้ำบ๊วยที่ได้จึงมาจากรสของผลไม้ธรรมชาติล้วนๆ เมื่อดื่มแล้วจะรู้สึกชุ่มคอ และนุ่มลิ้นมากกว่าน้ำบ๊วยบรรจุขวดโหลทั่วไปที่ผสมน้ำเชื่อมและเกลือ
นอกจากนั้น ก่อนจะตักใส่แก้วเสิร์ฟให้ลูกค้า ต้องนำไปคนผสมกับน้ำเปล่า และน้ำแข็งในโถเซรามิกที่นำเข้าจากเมืองจีน ซึ่งมีความหนาเป็นพิเศษ ช่วยเก็บรักษาความเย็น และรสชาติได้เป็นอย่างดี
บุญสืบ เผยว่า หลังอากงเสียชีวิต ได้รับมอบหมายจากบรรดาญาติพี่น้องให้ปลีกเวลาจากธุรกิจบริษัทโฆษณาของตัวเอง มาช่วยสานต่อกิจการน้ำบ๊วย เพราะถือเป็นสมบัติครอบครัว เป็นที่มาของการขยายธุรกิจในรูปแบบขายอาชีพกึ่งแฟรนไชส์ เพื่อหาตัวแทนกระจายสินค้าในวงกว้าง
“ที่ผ่านมา เราจะได้รับเชิญไปออกบูทในฐานะร้านดังจากเยาวราชบ่อยมาก ทำให้พบเห็นพฤติกรรมผู้บริโภคว่า มีผู้นิยมกินน้ำบ๊วยทุกเพศ ทุกวัย และทุกระดับฐานะ ดังนั้น ช่องทางตลาดยังเปิดอีกกว้าง แต่เราไม่สามารถจะไปขายได้เองทั้งหมด ทำให้ผมคิดถึงการขยายธุรกิจอาชีพ ซึ่งจะกระจายจุดขายได้กว้างขวาง เพราะปัจจุบัน มีผู้สนใจอยากหาอาชีพจำนวนมาก ซึ่งอาชีพขายน้ำบ๊วย มีความน่าสนใจ เพราะทำได้ง่าย และผลกำไรสูง” บุญสืบ ระบุ
ด้านรูปแบบลงทุน เป็นคีออสมีให้เลือก 3 ขนาด ได้แก่ 14,000 บาท 21,500 บาท และ 26,000 บาท ทั้งหมดได้รับอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น คีออส โกเซรามิกใส่น้ำบ๊วย แก้ว เสื้อฟอร์ม เป็นต้น มีเงื่อนไขสำคัญ ต้องรับหัวน้ำบ๊วยและแก้วจากส่วนกลาง และต้องผสมหัวน้ำบ๊วยกับน้ำเปล่าและน้ำแข็งในอัตราส่วนที่กำหนดเท่านั้น มิเช่นนั้น จะทำให้รสชาติผิดเพี้ยนจากต้นตำรับ
สำหรับการขายปลีกหน้าร้าน มี 2 แบบ คือ 1.ขายเป็นแก้ว โดยจะส่งเป็นหัวน้ำบ๊วยบรรจุขวด 10 ลิตร ราคา 400 บาท เมื่อนำไปผสมน้ำเปล่าแล้ว จะขายแก้วขนาด 18 ออนซ์ ได้จำนวน 65 แก้ว รวมค่าแก้วกระดาษ กับค่าน้ำแข็ง เฉลี่ยต้นทุนประมาณ 6-7 บาทต่อแก้ว เมื่อนำไปขายปลีกแก้วละ 20 บาท และ 2.ส่งเป็นน้ำบ๊วยบรรจุขวดสำเร็จรูป ราคาส่งขวดละ 15 บาท ผู้ขายสามารถนำไปขายปลีกได้ในราคาขวดละ 25-30 บาท
ทั้งนี้ มีบริการส่งวัตถุดิบให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ยอดสั่งอย่างต่ำครั้งละ 2,000 บาท เบื้องต้นเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล นอกจากนั้น มีบริการแนะนำทำเลตั้งร้าน โดยผู้สนใจอาชีพนี้ ควรมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับเป็นค่าเช่า และค่าวัตถุดิบต่างๆ ประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน
บุญสืบ ระบุด้วยว่า ที่ผ่านมา มีร้านค้า ร้านอาหารรับน้ำบ๊วยไปขายประจำอยู่แล้วจำนวนมาก แต่ในส่วนขยายรูปแบบกึ่งแฟรนไชส์เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนมิถุนายน 2555 นี่เอง ซึ่งได้การตอบรับอย่างสูง เวลานี้กำลังอยู่ในขั้นตอนคัดเลือกผู้ลงทุนที่เหมาะสม
สำหรับปัจจุบัน ยังมีน้ำบ๊วยบรรจุในถังไม้เก็บสต๊อกไว้ขายได้อีกกว่า 9 ปี อย่างไรก็ตาม เพื่อรองรับตลาดที่กำลังจะเติบโต ได้ลงทุนสั่งซื้อเครื่องจักร สำหรับผสมวัตถุดิบผลไม้ 5 ชนิด และเครื่องบรรจุขวด นอกจากนั้น ในอนาคตจะปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยใช้แบรนด์ว่า “เพี้ย หวัง” เพื่อจะส่งน้ำบ๊วยสูตรของอากง ไปขายตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เคียงคู่กับน้ำอัดลม หรือน้ำชาเชียวต่อไป