การสร้างทุนทางปัญญา |
การสร้างทุนทางปัญญา
หากบุคคลใด หรือ องค์กรใดไม่มี ทุน ทางปัญญา (Intellectual Capital) ก็ สามารถสร้างขึ้นได้ โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามทฤษฎีของ David A. Gavin ซึ่งประกอบด้วย
1. การแก้ ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic Problem Solving)
2. การทดลองใช้วิธีการใหม่ๆ (Experimentation with New Approaches)
3. การ เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต (Learning from Their Own Experience and Past History)
4. การเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น (Learning from Experience and Best Practices of Others)
5. การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธภาพ (Transferring Knowledge Quickly and Efficiently)
จากวิธีการสร้างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ทั้ง 5 ประการข้างต้นนั้น พบว่าสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองหรือผู้อื่น แต่ในความเห็นของผู้เขียนซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีของ David A.Gavin คือ การ เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่นนั้น สามารถเรียน รู้ได้ทั้งจากสิ่งที่ดีที่สุด หรือ เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด ทำให้ผู้เรียน สามารถแบ่งแยกได้ว่า อะไรคือสิ่งที่ถูก อะไรคือสิ่งที่ผิด จะได้ไม่เกิด การทำซ้ำในสิ่งที่ผิด
การที่จะสร้างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ให้ได้ประสบผลสำเร็จ จะต้อง ดำเนินการแบบองค์รวม ไปสู่ ภาพ ย่อย หรือที่เรียกว่า จาก Macro สู่ Micro คือ มองในภาพกว้าง ครบวงจร ตรงประเด็น และเป็นความจริง มิฉะนั้นจะทำให้การคิด การ วิเคราะห์ผิดทาง ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม อาจกล่าวได้ว่า การสร้างให้บุคคล มีทุนทางปัญญา จะต้องประกอบด้วยความรู้ที่นำมาใช้ สร้าง โดยการสร้างนั้นจะต้องให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถที่บุคคลนั้นมี อาจใช้อุปกรณ์ เครื่องต่างๆเป็นเครื่องช่วยด้วยก็ได้ และ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นความอยากรู้ จะต้องเสริมด้วย แรงจูงใจ
Tag :
การพัฒนาตนเอง
,
เกร็ดความรู้ทั่วไป