ss ข้อดีและข้อเสียของการปรับโครงสร้างหนี้ - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

ข้อดีและข้อเสียของการปรับโครงสร้างหนี้

การปรับโครงสร้างหนี้

ข้อดีและข้อเสียของการปรับโครงสร้างหนี้
ข้อดี
1. ช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดเงื่อนไขการชำระหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระ หนี้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพคล่องในการทำธุรกิจ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ โดยไม่ต้องขึ้นศาลและอยู่ในสถานะล้มละลาย
2. สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้มีโอกาสได้รับชำระหนี้คืนมากขึ้น และยังสามารถได้รับผลตอบแทนที่มักจะอยู่ในรูปของอัตราดอกเบี้ยที่คิดในอัตรา สูงขึ้นกว่าเดิม

3. ลดภาระของสถาบันการเงินในการดำเนินการทางกฎหมาย และขั้นตอนของการจำหน่ายหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมทั้งลดภาระในการกันเงินสำรองเพิ่มขึ้นตามภาระหนี้สินที่ค้างจ่ายของ ลูกหนี้
4. ในระดับประเทศ ช่วยให้เศรษฐกิจมีการไหลเวียนได้คล่องตัวขึ้นในระบบเศรษฐกิจแท้จริง (Real sector)
ข้อเสีย
1. การทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้จะนำยอดหนี้เดิมบวกกับดอกเบี้ยค้างจ่าย และค่าใช้จ่ายในรูปของค่าปรับ และค่าทวงถามที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการหยุดชำระหนี้ แล้วนำมาเป็นยอดหนี้ใหม่ โดยอาจคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12  ต่อปี ดังนั้น เท่ากับเป็นการเพิ่มหรือต่อยอดหนี้ให้กับลูกหนี้ออกไปอีก
2. ในกรณีที่ลูกหนี้ยังคงไม่สามารถชำระหนี้ตามเงื่อนไขภายในสัญญาฉบับใหม่ที่ได้ มีการปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้จะใช้สัญญาใหม่ดังกล่าวในการฟ้องร้อง ซึ่งลูกหนี้ไม่สามารถมีข้อต่อสู้ใดๆ จะดำเนินการได้เพียงยื่นคำให้การต่อสู้เพื่อขอยืดระยะเวลา และไกล่เกลี่ย โดยยอดหนี้ไม่สามารถลดลงได้
3. หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล มีอายุความต่างกัน การคิดดอกเบี้ยก็อยู่ในอัตราที่ต่างกัน การปรับโครงสร้างหนี้ควรจะเป็นเฉพาะหนี้แต่ละตัวไป เพราะอาจเกิดการเสียเปรียบต่อเจ้าหนี้ได้ในกรณีของการรวมหนี้ทั้งหลายเป็น ยอดเดียว
4. หากมีการฟ้องร้องแล้วไปไกล่เกลี่ยที่ศาล มีการตกลงชำระหนี้ตามที่ตกลงกันที่ศาล และมีการบันทึก ก็ถือว่าคดีสิ้นสุดแล้ว หากไม่ชำระหนี้จะมีผลถึงการอายัดทรัพย์ การอายัดเงินเดือนเร็วขึ้น ดังนั้น ก่อนตกลงไกล่เกลี่ย จะต้องดูยอดหนี้ หากยอดหนี้สูง ควรยื่นคำให้การต่อสู้เพื่อจะได้ใช้ระยะเวลาในการเก็บเงิน และสุดท้ายหนี้ก็ได้รับการชำระเช่นกัน

การปรับโครงสร้างหนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยชะลอให้ธุรกิจรอดพ้นจาก การล้มละลาย แต่สิ่งที่ธุรกิจพึงระวังคือ การปรับโครงสร้างหนี้เป็นเรื่องของการทำข้อตกลง ซึ่งถือเป็นสัญญาผูกพันร่วมกันระหว่าง เจ้าหนี้ และ ลูกหนี้ เพราะฉะนั้น ต้องร่วมกันคิดและทำด้วยความจริงใจ เปิดใจ ตรงไปตรงมา โดยยึดหลักของความเป็นไปได้ในทางปฎิบัติที่ได้รับการยินยอมทั้งสองฝ่าย ธุรกิจต้องทำความเข้าใจกับรายละเอียดทุกถ้อยคำในสัญญาที่ระบุไว้อย่างถี่ ถ้วน ถ้าไม่มั่นใจในตัวเอง ก็อาจจะต้องยอมเสียเงินว่าจ้างนักกฎหมาย หรือนักการเงินมาช่วยอีกแรงหนึ่ง หรือในเบื้องต้น คงต้องขอคำปรึกษาจากที่ปรึกษาธุรกิจที่มีอยู่ในหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชน รวมทั้งของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ด้วย 

ที่มาจาก : cms.sme.go.th

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top