ss ข้อดี-ข้อเสียของการเป็นผู้ประกอบการ - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

ข้อดี-ข้อเสียของการเป็นผู้ประกอบการ


1. ปัญหาของอุตสากรรมขนาดกลางและย่อมด้านการตลาด 
     ระยะปัจจุบัน
  • ความต้องการลดลงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย เพราะพึ่งพาตลาดภายในประเทศเป็นสำคัญ และในบางอุตสาหกรรมจะรับจ้างหรือทำตามใบสั่งซื้อจากบริษัทขนาดใหญ่เป็นส่วนมาก
  • ไม่สามารถปรับราคาสินค้าเพิ่มเท่าต้นทุนที่สูงขึ้นได้
     ระยะปานกลาง 
  • ผู้ประกอบการมีโอกาสวางสินค้าในท้องตลาดได้โดยตรงได้น้อย เนื่องจากเป็นการผลิตตามใบสั่งซื้อที่มีความแน่นอนกว่า และไม่ต้องลงทุนด้านการตลาดมาก

     ระยะยาว 
  • การแยกตัวออกเป็นอิสระจากบริษัทขนาดใหญ่และการวางสินค้าในตลาดอย่างเป็นระบบคงไม่เกิด ถ้าปราศจากการรวมตัวเพื่อลดต้นทุนการจัดการทางการตลาด
     
2.   ด้านสภาพคล่องเงินทุนหมุนเวียน
     ระยะปัจจุบัน 
  • ขาดเงินทุนหมุนเวียนมากและดอกเบี้ยสูง เพราะเงินทุนหมุนเวียนมาจากวงเงิน OD จากธนาคารพาณิชย์ และสินเชื่อจากบริษัทเงินทุน (60%) และสินเชื่อทางการค้า (tread credit) (20%) การที่สถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยสินเชื่อและปัญหาการระบายสินค้าของบริษัทขนาดใหญ่และการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าได้ช้า จึงส่งผลกระทบรุนแรง
     ระยะปานกลาง
  • แหล่งเงินทุนยังขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของบริษัทขนาดใหญ่ สินทรัพย์ค้ำประกัน (collateral) และนโยบายสถาบันการเงิน
เงินลงทุน
     ระยะปัจจุบัน
  • ขาดแคลนเงินทุนเพื่อใช้พัฒนาเทคโนโลยีและวิจัย
  • มีการกู้ยืมเงินเกินตัวและไม่มีวินัยในการใช้เงิน
     ระยะปานกลาง
  • เงินทุนส่วนใหญ่มาจากสถาบันการเงิน ซึ่งขึ้นกับภาวะราคาหลักทรัพย์
     ระยะยาว
  • ไม่มีการพึ่งตลาดเงินอื่น นอกจากธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุน กับเงินทุนจากกลุ่มเจ้าของกิจการ
3. ด้านการผลิต
     ระยะปัจจุบัน
  • ต้นทุนการผลิตสูงทั้งวัตถุดิบ ค่าน้ำและค่าไฟ และมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบบางประเภท
  • โครงสร้างภาษีวัตถุดิบไม่เหมาะสม
  • การผลิตใช้เทคนิคเบื้องต้นที่ไม่ซับซ้อน ทำให้คุณภาพต่ำ ถ้าเป็นกิจการที่รับใบสั่งซื้อมาจากบริษัทขนาดใหญ่จะใช้วิธีการผลิตตามที่กำหนดมา ไม่สามารถพัฒนาเทคนิคเองได้
     ระยะปานกลาง
  • การพัฒนาเทคนิคการผลิตไม่มีเนื่องจากทิศทางของการขายผลผลิตไม่เป็นตัวของตัวเอง
  • ขาดการส่งเสริมการผลิตจากภาครัฐ
     ระยะยาว
  • การพัฒนาฝีมือแรงงานและเทคโนโลยีไม่เกิดขึ้น เพราะผลตอบแทนของแต่ละกิจการ จากการพัฒนาไม่แน่นอน จากการเคลื่อนย้ายแรงงาน ต้นทุนในการพัฒนาสูง และขาดวิสัยทัศน์
4. ด้านการจัดการ
     ระยะปัจจุบัน
  • ยังยึดติดกับระบบการจัดการแบบครอบครัว รวมไปถึงระบบบัญชีที่ไม่มีคุณภาพนำไปสู่ความยากลำบากที่จะเสนองบการเงินที่ถูกต้องแก่สถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อ
5. ด้านการส่งออก
     ระยะปัจจุบัน
  • มีปัญหาขาดตู้ Container รวมทั้งระเบียนในการส่งออกยุ่งยาก ตลอดทั้งการคืนภาษีช้า
  • ไม่สามารถทำการส่งออกได้โดยตรง เนื่องจากปัญหาด้านการหาตลาดและคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานสากล ผู้ส่งออกบางรายทำธุรกิจการส่งออกทางอ้อม (Indirect Export) จึงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการส่งออกได้ และขาดอำนาจการต่อรอง
     ระยะปานกลาง
  • อุตสาหกรรมขนาดย่อมยังคงขาดศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก ถ้าปราศจากความช่วยเหลือ
     ระยะยาว
  • ขาดการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาผลผลิต และขยายตลาดส่งออก
6. ด้านอื่นๆ
     ระยะปัจจุบัน
  • ขาดการส่งเสริมให้หน่วยราชการหันมาใช้สินค้าไทย
  • ขาดแคลนแรงงานที่ชำนาญงานเนื่องจากมีการ Tumover ไปสู่โรงงานขนาดใหญ่
7. การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมด้านการตลาด
  • เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่อาศัยความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก และศักยภาพที่จะเปลี่ยนไปสู่การส่งออกนั้นน้อย เพราะฉะนั้นจะต้องกระตุ้นความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะในส่วนของการใช้จ่ายภาครัฐบาล
  • ให้ความช่วยเหลือทางการเงินผ่านองค์กรของรัฐ เพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาการตลาดในการขายและเจาะตลาดใหม่ ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ตลาดอินโดจีน อาฟริกา และอเมริกาใต้
8. ด้านเงินทุนหมุนเวียน
     หากความต้องการภายในประเทศสูงขึ้น จะช่วยให้สภาพคล่องส่วนหนึ่งของธุรกิจกลับมาจาก trade credit จากบริษัทใหญ่ แต่ปัญหาสภาพคล่องส่วนที่มาจากสถาบันการเงินคงยังมีอยู่จากปัญหา NPL และความไม่พร้อมของกลไกสถาบันการเงินของรัฐ เช่น บรรษัทอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ที่จะขยายขอบเขตการดำเนินงานภายในเวลารวดเร็ว การเพิ่มสถาพคล่องแก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมผ่านสถาบันการเงินของรัฐและเอกชน มีวิธีการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ดังนี้
  • ลดสภาพความเสี่ยงแก่สินเชื่อที่มีที่ดินค้ำประกันลง
  • อุดหนุนการให้กู้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมโดยลดอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม
  • รัฐค้ำประกันเงินกู้บางส่วนที่ให้แก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม (สหรัฐฯ ประกัน 75% แก่สินเชื่อที่ให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมที่ผลิตเพื่อส่งออก)
  • เพิ่มวงเงินแก่บรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ในการค้ำประกันสินเชื่อให้กับอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมที่มีการบริหารและการจัดการที่ดี
  • จัดตั้งกองทุนหมุนเวียนเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม เป็นกรณีพิเศษจากภาครัฐ เนื่องจาก อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมไม่สามารถพึ่งพากลไกปกติของสถาบันการเงินได้ จำเป็นต้องอาศัยกลไกของรัฐ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรมที่มีสำนักงานทั่วประเทศ หรือธนาคารกรุงไทย ธ.ก.ส. หรือ 4 ธนาคารที่รัฐเข้าไปถือหุ้นเป็นกลไกที่จะนำกองทุนฟื้นฟูกระจายไปสู่ภูมิภาค ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ อย่างไรก็ตามแม้จะมีนโยบายอัดฉีดเม็ดเงินใหม่ให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม แต่ถ้าไม่มีการพิจารณาการยืดอายุหนี้แล้ว อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อมจะไม่สามารถนำเม็ดเงินใหม่ไปฟื้นฟูกิจการได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือผู้ประกอบการ 265 รายได้เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินแล้ว 

อ้างอิง: sme.go.th

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top