ss เรียนรู้กับ 12 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จธุรกิจแฟรนไชส์ - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

เรียนรู้กับ 12 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จธุรกิจแฟรนไชส์

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ผมมีบทความดี ๆ มาแบ่งปันให้ครับทุกท่านที่กำลังสนใจหาอาชีพเสริม หรือหารายได้เสริม หรือกำลังสนใจธุรกิจแฟรนไชส์อยู่ ผมมีขั้นตอนศึกษาสู่ความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์มาฝากเพื่อน ๆ ทุกท่านครับ



12 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในธุรกิจแฟรนไชส์ 

1.รู้จักระบบแฟรนไชส์
แฟรนไชส์ซอว์ (Franchisor) คือ ผู้ขายสิทธิแฟรนไชส์ ขายสิทธิรูปแบบการทำธุรกิจ ตราสินค้า มาตรฐานการทำธุรกิจแฟรนไชส์ซี (Franchisee) คือ ผู้ซื้อสิทธิแฟรนไชส์ (จำง่ายๆ see คือ ตัวเรา ที่กำลังมองหาธุรกิจแฟรนไชส์)

2.เลือกประเภทธุรกิจที่สนใจ 
แฟรนไชส์ประกอบด้วยหลากหลายธุรกิจ ได้แก่ อาหาร เบเกอรี่และเครื่องดื่ม บริการ การศึกษา ค้าปลีก และธุรกิจทั่วไป วิเคราะห์ตัวเองว่าชอบธุรกิจประเภทใด

3.ศึกษาหาข้อมูลบริษัทแฟรนไชส์ 
วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากแฟรนไชส์ซอว์เอง กระทรวงพาณิชย์ สมาคมแฟรนไชส์ต่างๆ สถาบันการเงิน ปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยได้คัดเลือกแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐาน และผ่านการวิเคราะห์จากธนาคารกว่า 65 แฟรนไชส์ เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์

Tip : หาโอกาสทดลองซื้อสินค้า หรือใช้บริการแฟรนไชส์ที่สนใจ

4.มองหาทำเล 
ทำเลเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์

Tip : แฟรนไชส์บางแบรนด์ สามารถช่วยประสานเรื่องทำเลเพื่อผู้ลงทุน รวมถึงสามารถนำเสนอทำเลที่ดีสำหรับการลงทุนของแฟรนไชส์ซีได้ด้วย

5.เริ่มติดต่อพูดคุยบริษัทแฟรนไชส์ต่างๆ 
โดยเลือกแฟรนไชส์ที่สนใจอย่างน้อย 3 แฟรนไชส์, ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และสอบถามรายละเอียดการลงทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงรูปแบบการแบ่งผลตอบแทน และเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ

6.วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ 
ได้แก่ วิเคราะห์รูปแบบการลงทุน, ยอดเงินลงทุน, ค่าใช้จ่ายต่างๆ, สัดส่วน และวิธีการแบ่งผลตอบแทน และระยะเวลาการคืนทุน

Tip : จัดอันดับแฟรนไชส์ที่สนใจ 3 อันดับแรก

7.ตัดสินใจ และเริ่มต้นดำเนินการกระบวนการแฟรนไชส์
ตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ต้องการ แฟรนไชส์ที่เลือกควรมีตัวอย่างความสำเร็จให้เห็น ติดต่อเพื่อเจรจาการลงทุน หาข้อมูลเชิงลึกเพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าเยี่ยมชมการดำเนินการ และกระบวนการบริหารจัดการร้านค้าแฟรนไชส์ ศึกษาสัญญาแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ที่ดี สัญญาควรเป็นธรรม

8.แฟรนไชส์ซอว์คัดเลือกผู้ร่วมลงทุนอย่างไร
ศักยภาพผู้ร่วมลงทุนที่มี เงินทุนส่วนตัวไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่สุด แต่ความตั้งใจ และความใส่ใจในธุรกิจสำคัญ

Tip : หากพลาดจากแฟรนไชส์แรก ลองพิจารณา และติดต่อ แฟรนไชส์ที่เหลือ (3 แฟรนไชส์ที่เลือกไว้)

9.มองหาแหล่งเงินทุน
พิจารณาวงเงินลงทุน วิเคราะห์เงินทุนส่วนตัว และมองหาแหล่งเงินทุนส่วนเพิ่มหากทุนไม่พอลองปรึกษาธนาคารพาณิชย์ที่เข้าใจ และเชี่ยวชาญในธุรกิจแฟรนไชส์

Tip : สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์กสิกรไทย อนุมัติสูงสุด 80% ของเงินลงทุนที่แฟรนไชส์ซอว์ ตอบทุกความต้องการทั้งแบบไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน และแบบลดหย่อนการผ่อนชำระ เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจแฟรนไชส์

10.ดำเนินการสินเชื่อและเตรียมพร้อมเปิดกิจการ
(กรณีขอสินเชื่อกับธนาคารกสิกรไทย) หากเลือกลงทุนในแฟรนไชส์ที่ร่วมโครงการกับธนาคารกสิกรไทย เพียงแจ้งที่ผู้ประสานงานแฟรนไชส์ซอว์ได้เลย ทางแฟรนไชส์ซอว์จะดำเนินการนำส่งรายละเอียดการลงทุนให้กับธนาคาร กระบวนการง่ายๆ ไม่ต้องมีประสบการณ์ ไม่ต้องใช้งบการเงินหรือ Statement ใดๆ ในการขอสินเชื่อ วงเงินอนุมัติเร็ว 3 วัน 7 วันรับเงิน ระหว่างนี้สามารถเตรียมความพร้อมเรื่องการก่อสร้าง และการตกแต่งสถานประกอบการ รวมถึงการจัดซื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการเปิดกิจการ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ธนาคารจะชำระตรงผ่านแฟรนไชส์ซอว์

11.เตรียมพร้อมก่อนเปิดกิจการ 
เจ้าของกิจการจำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรมการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ตามมาตรฐานที่แฟรนไชส์ต่างๆ กำหนดไว้ และสรรหาบุคลากรที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการ กรณีประสบปัญหาด้านบุคลากร แฟรนไชส์ซอว์จะดำเนินการสนับสนุนในการสรรหาและฝึกอบรมให้

12.เปิดดำเนินกิจการ
บางแฟรนไชส์อาจมีการส่งเจ้าหน้าที่มาสนับสนุนดำเนินการในช่วงแรกของการดำเนินการ รวมถึงแฟรนไชส์ซอว์จะหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ผ่านระบบธนาคารเพื่อความสะดวก

Tip : หากเกิดปัญหา อุ่นใจได้ วิเคราะห์ปัญหา และสามารถขอคำปรึกษาจากแฟรนไชส์ซอว์ได้

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

 

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top