ส.อ.ท.เปิดตัวโครงการ “SMEs We Care” ช่วย SMEs ทั่วประเทศ ยกระดับความสามารถสู้พิษค่าแรง พร้อมผลักดันมาตรการเยียวยาภาครัฐต่อเนื่อง
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศที่มีผลไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ SMEs ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้เนื่องจากต้นทุนการประกอบการที่สูงขึ้น อาทิ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นในกระบวนการผลิต จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผลตอบแทนลดลงเนื่องจากไม่สามารถขึ้นราคาขายได้ ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งแรงงานขาดทักษะ (แรงงานยังด้อยฝีมือไม่เหมาะสมกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น) รวมถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงิน และอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกปรับขึ้นราคาได้ยากกว่า ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเกิดข้อได้เปรียบเนื่องจากไม่ได้มีต้นทุนแรงงานที่สูงเท่าประเทศไทย ซึ่งค่าแรงไทยสูงกว่าเวียดนามประมาณ 1.5 เท่า และสูงกว่าประเทศกัมพูชาประมาณ 3.1 เท่า
ดังนั้น สภาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2555 ก่อนการปรับขึ้นค่าแรงครั้งแรก โดย ส.อ.ท.ได้จัดระดมความคิดเห็นในส่วนของผู้ประกอบการ SMEs ที่จะได้รับผลกระทบหลังการปรับขึ้นค่าแรง ซึ่ง ส.อ.ท.ได้จัดทำข้อแสนอการบรรเทาผลกระทบเพื่อเสนอต่อภาครัฐผ่านการผลักดันของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. พร้อมประชุมหารือร่วมกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งมาตรการที่ได้รับการอนุมัติจากภาครัฐจำนวน 5 มาตรการนั้นยังเป็นมาตรการที่ยังไม่ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด อาทิ มาตรการทางด้านภาษี และสินเชื่อที่ออกมานั้นให้ประโยชน์เพียงผู้ประกอบการที่สามารถผ่านวิกฤตได้ด้วยตนเอง โดยที่มาตรการภาษีจะส่งเสริมให้มีความสามารถในการทำกำไรได้เพิ่มขึ้น มีรายได้มากขึ้น หรือหากสามารถกู้ยืมเงินเพื่อขยายงานก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนอุปกรณ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมฯ ได้เสนอหัวข้อไป คือ ต้องการให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็ก หรือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งอาจจะเกิดจากการมองเห็นปัญหาในมุมมองที่แตกต่างกัน โดยภาครัฐฯ อาจเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันเรื่องการชดเชยส่วนต่างค่าแรงที่เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งสภาอุตสาหกรรมฯ จะร่วมกับ กกร.ผลักดันอย่างต่อเนื่อง
นายพยุงศักดิ์กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมฯ เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว และมีความประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงได้จัดทำโครงการ “SMEs We Care” เพื่อช่วยยกระดับผู้ประกอบการให้สามารถต่อสู้กับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำผ่านการพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ โดยโครงการ “SMEs We Care” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นภายใต้การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชน และภาครัฐ ซึ่งมีแนวคิดร่วมกันในการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยให้สามารถยืนหยัดแข่งขันในตลาดต่อไปได้
นอกเหนือจากโครงการ “SMEs We Care” ที่จะช่วยเหลือ SMEs ไทยโดยตรงแล้ว สภาอุตสาหกรรมฯ ยังคงเดินหน้าช่วยเหลือผลักดันมาตรการที่เหลืออยู่ต่อภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังดำเนินการหาแนวทางการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถปรับตัว อีกทั้งมีภูมิคุ้มกัน และยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการได้
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศที่มีผลไปแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ทำให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม หรือ SMEs ซึ่งผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถแบกรับภาระต่อไปได้เนื่องจากต้นทุนการประกอบการที่สูงขึ้น อาทิ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคการผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นในกระบวนการผลิต จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ผลตอบแทนลดลงเนื่องจากไม่สามารถขึ้นราคาขายได้ ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งแรงงานขาดทักษะ (แรงงานยังด้อยฝีมือไม่เหมาะสมกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น) รวมถึงการขาดสภาพคล่องทางการเงิน และอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกปรับขึ้นราคาได้ยากกว่า ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเกิดข้อได้เปรียบเนื่องจากไม่ได้มีต้นทุนแรงงานที่สูงเท่าประเทศไทย ซึ่งค่าแรงไทยสูงกว่าเวียดนามประมาณ 1.5 เท่า และสูงกว่าประเทศกัมพูชาประมาณ 3.1 เท่า
ดังนั้น สภาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งได้ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2555 ก่อนการปรับขึ้นค่าแรงครั้งแรก โดย ส.อ.ท.ได้จัดระดมความคิดเห็นในส่วนของผู้ประกอบการ SMEs ที่จะได้รับผลกระทบหลังการปรับขึ้นค่าแรง ซึ่ง ส.อ.ท.ได้จัดทำข้อแสนอการบรรเทาผลกระทบเพื่อเสนอต่อภาครัฐผ่านการผลักดันของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. พร้อมประชุมหารือร่วมกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะถูกนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งมาตรการที่ได้รับการอนุมัติจากภาครัฐจำนวน 5 มาตรการนั้นยังเป็นมาตรการที่ยังไม่ตรงความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด อาทิ มาตรการทางด้านภาษี และสินเชื่อที่ออกมานั้นให้ประโยชน์เพียงผู้ประกอบการที่สามารถผ่านวิกฤตได้ด้วยตนเอง โดยที่มาตรการภาษีจะส่งเสริมให้มีความสามารถในการทำกำไรได้เพิ่มขึ้น มีรายได้มากขึ้น หรือหากสามารถกู้ยืมเงินเพื่อขยายงานก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนอุปกรณ์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ทางสภาอุตสาหกรรมฯ ได้เสนอหัวข้อไป คือ ต้องการให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลาง และเล็ก หรือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ซึ่งอาจจะเกิดจากการมองเห็นปัญหาในมุมมองที่แตกต่างกัน โดยภาครัฐฯ อาจเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันเรื่องการชดเชยส่วนต่างค่าแรงที่เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งสภาอุตสาหกรรมฯ จะร่วมกับ กกร.ผลักดันอย่างต่อเนื่อง
นายพยุงศักดิ์กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมฯ เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว และมีความประสงค์ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จึงได้จัดทำโครงการ “SMEs We Care” เพื่อช่วยยกระดับผู้ประกอบการให้สามารถต่อสู้กับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำผ่านการพัฒนาศักยภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ โดยโครงการ “SMEs We Care” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นภายใต้การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชน และภาครัฐ ซึ่งมีแนวคิดร่วมกันในการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยให้สามารถยืนหยัดแข่งขันในตลาดต่อไปได้
นอกเหนือจากโครงการ “SMEs We Care” ที่จะช่วยเหลือ SMEs ไทยโดยตรงแล้ว สภาอุตสาหกรรมฯ ยังคงเดินหน้าช่วยเหลือผลักดันมาตรการที่เหลืออยู่ต่อภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังดำเนินการหาแนวทางการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถปรับตัว อีกทั้งมีภูมิคุ้มกัน และยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการได้
Tag :
ข่าวประชาสัมพันธ์
,
ข่าวแฟรนไชส์