ss มาทำความรู้จักกับคำว่า WEEE คืออะไร - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

มาทำความรู้จักกับคำว่า WEEE คืออะไร

WEEE คืออะไร ? WEEE ย่อมาจากคำว่า“ Waste Electrical Electronic Equipment ”


หรือเศษซากเหลือใช้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยอยู่มาก และมีหลายหน่วยงานที่กำลังมีการปรับตัวกับเรื่อง WEEE ในขณะนี้ ทั้งที่เป็นประเด็นปัญหาและเป็นโอกาสของธุรกิจในประเทศไทย หากแต่ว่าจะมีมุมมองเรื่อง WEEE นี้อย่างไร แต่ที่แน่ก็คือWEEE ถือเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ประกาศ ดังนั้นหากมีการเคลื่อนย้ายจึงต้องมีการขออนุญาติก่อน

          ปัจจุบัน WEEE ในหลายประเทศเรียกเป็นอีกชื่อหนึ่งว่า e-waste หรือ electronic waste คือเป็น ขยะที่เกิดจากอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกต่างๆ กับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการผลิต-จำหน่าย มีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้อย่างแพร่หลาย อาธิ โทรศัพท์มือถือ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เป็นต้น ฯลฯเมื่อใช้งานไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว สภาพการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้เริ่มหมดอายุการลง ทำให้เกิดเป็นซากของเครื่องเก่าที่ใช้การไม่ได้ และต้องนำไปทิ้ง ที่เห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ แบตเตอรี่ หรือถ่านไฟฉายที่มีขนาดเล็ก ชนิด AA หรือAAA ที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเมื่อกำลังไฟหมดแล้ว ก็นำไปทิ้งลงถังขยะทั่วไป โดยไม่ได้คำนึงถึงผลร้ายว่า  WEEE เล็กๆนี้จะมีส่วนผสมของสารพิษ ที่เป็น โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท ที่ จะไหลลงสู่ระบบนิเวศน์ และเวียนกลับมาสู่คนที่อาจบริโภค หรือ สูดดมอากาศที่ไม่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพพลานามัยต่อประชาชนโดยรวมอีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ หลอดไฟฟ้า ที่เมื่อหลอดขาด ก็เปลี่ยนหลอดไฟใหม่ และทิ้งหลอดไฟเก่าลงไปในถังขยะทั่วไป ซึ่งก็จะเกิดผลร้ายเช่นกัน ยังมีอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์อีกหลายอย่างที่เป็นอันตรายหากนำไปทิ้ง รวมกับขยะทั่วไป ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทย ยังไม่มีกฏหมายควบคุม หรือ บังคับไม่ให้ทิ้ง WEEE ปนกับขยะทั่วไป ผิดกับต่างประเทศ ที่จัด WEEE หรือ e-waste นี้เป็น หนึงใน ขยะมีพิษ(Hazardous Waste) ถือเป็นขยะอันตรายชนิดหนึ่ง

          มีรายงานของ สหประชาชาติ (United Nation Environmental Program) เรื่อง BAN Mercury Working Group ที่รายงานผลกระทบจากการกระจายของสารปรอท และโลหะหนัก ไปปนเปื้อนในระบบนิเวศน์ โดยรายงานได้ระบุว่า ปริมาณ สารปรอท ที่ตรวจวัดได้จากปลาทะเล และปลาน้ำจืด ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉลี่ยสูงกว่าปริมาณที่ World Health Organization (WHO) กำหนดว่ามีความปลอดภัย ดังนั้นการบริโภคปลา จะทำให้มีสารปรอทปนเปื้อนและรัปทานเข้าไปเป็นจำนวนเฉลี่ย 40 ถึง 60 ไมโครกรัม ต่อวัน หากสะสมไปเรื่อยๆ ก็ทำให้เป็น มะเร็ง หรือ อาจทำให้เป็นหมันได้ ในรายงานนี้ยังระบุอีกว่า ประชากรของสหรัฐอเมริกา มีอันตรายกับปัญหา สารปรอท ที่จะต้องกลับเข้ามาในระบบนิเวศน์หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารทะเล การไปอุดฟัน (เพราะหมอฟันบางรายยังใช้ Amalgam ที่มีสารปรอท มาอุดฟันคนไข้ จึงทำให้มีอัตราเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายได้ ซึ่งก็เป็นคำตอบที่ดีว่าทำไมมนุษย์เราถึงเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นโรคร้ายแรงกันมาก โดยไม่ทราบสาเหตุ นั่ยเป็นเพราะได้รับสารปรอท หรือ โลหะหนัก เข้ามาในร่างกายโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นปัญหา WEEE หรือ e-waste ก็เช่นกัน เนื่องจาก อุปกรณ์ไฟฟ้า มีสารปรอท หรือ โลหะหนักเหล่านี้เจือปนอยู่ และหากทิ้งลงไปในถังขยะทั่วไป และในที่สุดนำไปฝังกลบหรือเผาทำลาย ก็ทำให้สารพิษเหล่านี้ฟุ้งกระจายไปทั่ว ทำให้ไหลเวียนกลับมาสู้ระบบนิเวศน์ของคนในระยะยาว


ที่มา:คณะกรรมการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย
อ้างอิงhttp://tccnature.wordpress.com/

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top