ss ข้อคิดเบื้องต้นของผู้ที่มีร้านค้า SMEs - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

ข้อคิดเบื้องต้นของผู้ที่มีร้านค้า SMEs

ข้อคิดเบื้องต้นของผู้ที่มีร้านค้า SMEs

1. หมั่นตรวจสอบสินค้าในร้านทุกๆ วัน  
ผู้ที่มีร้านค้า SMEs  อยู่แล้วต้องหมั่นตรวจเช็ครายการสินค้าทั้งหมดที่มีอยู่ในร้านเป็นประจำทุกวัน ทุกเดือน ทุกสัปดาห์ และทุกๆ 3 เดือน  การตรวจสอบรายการสินค้าจะทำให้คุณทราบได้ทันทีว่าสินค้าประเภทไหนขายได้และสินค้าประเภทไหนขายไม่ได้
นอกจากความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการจัดวางแล้วการตรวจสอบสินค้ายังถือเป็นการดูแลคุณภาพของร้านและประสิทธิภาพทางการขายอีกด้วย

 2. จัดทำแผนการหรือตารางประจำวัน

ทุกๆครั้งที่คุณมาถึงร้านคุณก็จะทราบอย่างแน่นอนว่าวันนี้คุณจะต้องทำอะไร ต้องเจอกับปัญหาแบบไหน ในแต่ละวันปัญหาที่ร้านของคุณย่อมไม่ใช่ปัญหาเดียวกัน คุณควรจะหาวิธีหรือจัดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขให้เป็นระบบตามตารางหรือตามประเภทของปัญหา ในแต่ละวันคุณควรมีแผนงานที่แน่นอนและแผนของคุณก็ควรมีการจัดลำดับก่อนหลังตามขั้นตอนซึ่งถ้าคุณปฏิบัติเป็นขั้นตอนได้ทุกวันตามกำหนดเช่นนั้น ในแตะละเดือนหรือในแต่ละสัปดาห์คุณก็สามารถหาข้อสรุปได้ทันทีว่ามีปัญหาใดที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ หรือมีเป้าหมายใดที่ยังไม่บรรลุผล

3. คิดให้มากและหนักยิ่งขึ้น

ความมุ่งมั่น ความกล้า และระเบียบวินัยคือที่มาสามประการที่นำมาซึ่งความสำเร็จ แต่อะไรคือสิ่งสำคัญสิ่งแรกในร้านค้า SMEs 
ผู้ที่มีร้านค้า SMEs  ควรถามตัวเองเสมอว่ามีความมุ่งมั่นแคไหนที่จะปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้าของคุณและคุณมีความตั้งใจแค่ไหนในการขยายกลุ่มลูกค้าให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น เมื่อคุณผ่านกระบวนความคิดอันมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงร้านของคุณ ความกล้าก็จะเริ่มบังเกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ เมื่อคุณลงมือทำตามกระบวนความคิดดังกล่าวด้วยการปฎิบัติอย่างเคร่งครัด มีระเบียบวินัยคุณก็จะสามารถพุ่งตรงไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ แต่คุณต้องแน่ใจเสียก่อนว่าคุณคิดมากพอ ทำงานหนักพอและมีระเบียบวินัยมากพอ

4. ใส่ความพยายามลงไปในร้านของคุณ 

จุดมุ่งหมายของผู้ที่มีร้านค้า SMEs  คือการทำให้ร้านได้กำไรแต่คุณจะใช้วิธีการใดในการทำให้ร้านของคุณได้กำไรขึ้นมา มีกลวิธีอยู่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่คุณควรจะต้องนำไปพิจารณาเพื่อให้ร้านของคุณได้กำไร นั่นก็คือระบบและวิธีภายในร้านที่ร่างขึ้นมาเพื่อสร้างผลกำไรและคงไว้ซึ่งจำนวนของลูกค้าเพื่อทำให้กำไรที่อาจเกิดขึ้นมาได้เป็นจริง
ซึ่งคุณสามาถทำได้อย่างแน่นอนถ้าคุณเริ่มต้นจากการพยายามเพิ่มจำนวนลูกค้าในร้าน โดยการทดลองสร้างระบบและวิธีการที่แตกต่างให้เกิดขึ้นบ้างในร้านของคุณ และจงค้นหาเทคนิคการจูงใจใหม่ ๆมาใช้กับลูกค้า พร้อมจดบันทึกผลของทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทดลองก่อนติดตามประเมินผลในร้านของคุณอย่างช้า ๆ หลังจากที่เวลาผ่านไปเพื่อค้นหาแนวคิดที่ดีที่สุด

5. อย่ารอคอยแรงจูงใจ
จงอย่ารอคอยแรงจูงใจ คนที่รอคอยแรงจูงใจจะเป็นคนรู้จักแต่การรออยู่ร่ำไปจนไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน  ดังนั้นผู้ที่มีร้านค้า SMEs  จึงสามารถปลูกฝังและเสริมสร้างแรงกระตุ้นในการทำงานด้วยความเร่งรีบโดยการกำหนดเป้าหมาย มาตรฐานและระดับความสำเร็จได้ด้วยตัวคุณเองแต่ถ้าหากคุณไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตามกำหนดเวลาคุณอาจจะรู้สึกว่ามีความผิดผลักดันอยู่บ้าง แต่จงใช้วิธีการเช่นนี้ต่อไปในบริษัทของคุณหรือในร้านของคุณ เพราะเมื่อคุณกำหนดเป้าหมายสำหรับทั้งตัวคุณเอง และพนักงานของคุณเรียบร้อยแล้วภารกิจต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันก็จะช่วยผลักดันให้ทุกอย่างดำเนินไปเองตามกำหนดเวลาจงผลักดันตัวเองสักหน่อยด้วยวิธีนี้ และจงชี้ แจงทีมของคุณให้ทำเช่นเดียวกันแต่ถ้าคุณยังไม่พร้อมที่จะสร้างแรงจูงใจและบังคับตัวเองคุณก็อย่าได้คาดหวังเลยว่าทีมของคุณหรือพนักงานของคุณจะสามารถบังคับตัวเองให้มุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายได้เช่นกัน

6. จงรู้จักธุรกิจ SMEs ของคุณให้ถ่องแท้
ผู้ที่มีร้านค้า SMEs  ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสินค้าของคุณ อะไรคือลักษณะสำคัญของสินค้าตัวนี้และประโยชน์อะไรที่ได้จากลักษณะพิเศษนี้ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าชนิดนี้ ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ B  ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันภายใต้เงื่อนไขเดียวกันและเมื่อไรที่ลูกค้าจะใช้สินค้าชนิดนี้และอะไรคือข้อจำกัดของการใช้สินค้าชนิดนี้
 การเข้าใจในตัวสินค้า SMEs สามารถแสดงให้เห็นถึงการเข้าใจตลาดที่สินค้ามุ่งไป ดังนั้นจงรู้จักตลาดของคุณว่าลูกค้าประเภทไหนที่เข้ามาซื้อสินค้าในร้านของคุณ พวกเขามาจากไหนเป็นคนในพื้นที่หรือเปล่า    ซึ่งถ้าคุณไม่รู้คำตอบของคำถามเหล่านี้แสดงว่าคุณยังไม่เข้าใจในร้านค้าหรือธุรกิจของตัวเอง และโดยเฉพาะกับลูกค้าคนใหม่คุณควรตรวจหน้าร้านโดยพินิจพิเคราะห์ด้วยสายตาของลูกค้าคนใหม่ว่าอะไรคือสิ่งแรกที่เขาเห็น และอะไรคือสิ่งที่ดึงดูดสายตาขณะลูกค้าเดินเข้าไปในร้าน ร้านของคุณเป็นระเบียบพอที่จะให้ลูกค้าเดินเข้าไปได้สะดวกหรือเปล่า ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้หรือไม่ หรืออะไรทำให้ร้านของคุณแตกต่างจากร้านอื่น
ผู้ที่มีร้านค้า SMEs  ต้องค้นหาความแตกต่างให้แก่พนักงานและร้านของคุณ เพราะการวางแผน การชักจูงใจ การตกแต่งร้าน การทำความสะอาดและการดูแลรักษาติดป้ายราคาสินค้ารวมไปถึงทางเข้า ออกที่สะดวก รวมไปถึงระบบของการเงินที่สมบูรณ์ล้วนแล้ว แต่เป็นปัจจัยสำคัญในร้านของคุณ ดังนั้นในฐานะผู้บริหารคุณควรทำหน้าที่ในฐานะผู้บริหารด้วยความกระตือรือร้นเพราะผู้บริหารที่ดีจะต้องรู้จักหน้าที่ของตัวเองและมุ่งความพยายามของเขาไปยังจุดสูงสุดและคุณควรเป็นเช่นนั้น 

7. นำลักษณะนิสัยของผู้บริหารที่ดีไปใช้  

ผู้ที่มีร้านค้า SMEs  ที่ดีจะต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  พวกเขาคือพวกที่คิดค้นสิ่งใหม่เพื่อขยายขอบเขตอำนาจและเขาจะได้รับผลเนื่องจากความพยายามของพวกเขา  ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพจะมีพรสวรรค์อันยิ่งใหญ่สำหรับตนเอง
ผู้ที่มีร้านค้า SMEs  ต้องคอยดูว่ามาตรการเหล่านั้นได้รับการตอบสนองหรือเปล่า พวกเขาเป็นพวกที่เรียกร้องพวกเขาเรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการและเขาก็จะทำงานหนักเพื่อให้ได้บรรลุผล พวกเขาแสดงให้พนักงานรู้ถึงวิธีประสบผลที่ดี   นั่นหมายความว่าพวกเขาได้ค้นคว้าความรู้ขั้นพื้นฐานมากมายพูดคุยและไตร่ตรอง พวกเขามองหาแนวคิดใหม่ ๆ เสมอ 
ผู้บริหารจะต้องเข้าใจว่าแนวคิดต่าง ๆ คือหลักการของการค้าปลีกที่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมีแนวโน้มที่จะกำหนดคุณค่าขั้นสูงในการทำงานพวกเขารู้สึกว่านี่เป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จของเขาและถ้ามีความ ช่วยเหลือที่ถูกต้องแล้วก็จำเป็นต่อความสำเร็จของลูกค้าด้วย

8. อย่านำนิสัยที่ไม่ดีต่อไปนี้มาใช้ในการทำงาน
ถ้าคุณต้องการเป็นผู้บริหารร้านค้าปลีกที่ประสบผลสำเร็จ จงอย่านำนิสัยที่ไม่ดีดังต่อไปนี้ไปใช้ในร้านของคุณ
·       มีอิทธิพลเหนือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
·       ต้องการให้พนักงานเชื่อฟังมากกว่าที่จะมีความคิดริเริ่ม
·       ขัดขวางและปิดกั้นแนวคิดใหม่ๆ หรือคำแนะนำสำหรับการเปลี่ยนแปลง
·       หลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่เสี่ยงต่อความล้มเหลว
·       ให้ความพอใจเพียงเล็กน้อยกับลูกค้าที่เข้าร่วม หรือเกี่ยวข้องในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
·       ไม่ฟังพนักงาน
·       ดูถูกพนักงานทุกครั้งที่มีโอกาส
·       ติดอยู่กับสิ่งที่ปฎิบัติแล้วในอดีตหรือสิ่งที่สร้างไว้แล้วมากกว่าที่จะทดสอบหรือทดลองทางเลือกอื่นๆ
·       เฉื่อยชาขณะปฏิบัติงาน
·       ล้าหลังเสมอ ไม่เคยออกใบกำกับสินค้าเมื่อจะต้องออกใบกำกับสินค้า
·       ทำงานไม่เคยเสร็จทันเวลา
·       มาสายเสมอ
·       ปล่อยเวลาให้สูญเปล่า
·       ถ้าลักษณะนิสัยที่ไม่ดีดังต่อไปนี้ยังไม่ทำให้คุณรู้สึกเพียงพอคุณก็อาจเติมลักษณะนิสัยที่ไม่ดีที่คุณรู้จักเพิ่มเติมลงไปอีกก็ได้

9. จงฟังพนักงานของคุณ

ส่วนที่ยากในการฟังก็คือการหยุดคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกำลังจะพูดต่อไป ซึ่งถือเป็นการกระทำของการมีระเบียบวินัยในตนเองแม้เป็นสิ่งที่ยาก    ต้องสำรวจความคิดในสิ่งที่พนักงานกำลังพูดกับคุณจงแน่ใจว่าคุณเข้าใจสิ่งที่เขากำลังพูดก่อนที่จะวิจารณ์และโดยเฉพาะก่อนที่จะตัดสินจงหลีกเลี่ยงการขัดจังหวะ
จงใช้เวลาตั้งใจฟังว่าพนักงานกำลังพูดอะไร   จงถามคำถามให้มาก  จงถามต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเขาเห็นด้วยว่าสิ่งที่คุณพูดก็คือสิ่งที่เขาต้องการจะบอก  จงค้นหาแนวความคิดของพนักงานจงถามเขาและจงแน่ใจที่จะทำตามแนวคิดบางประการที่เขาเสนอแก่คุณให้เป็นผล  จงสนับสนุนทุกๆ คนให้เกิดความคิดเกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงเฉพาะของเขาแล้วจงสนับสนุนให้เขาบรรลุผลตามแนวคิดการปรับปรุงการจัดระเบียบจากพื้นฐานอย่างก้าวหน้าและสม่ำเสมอจะคงอยู่ได้นานและกระจายมากกว่าแบบแผนที่ใหญ่โตซึ่งถูกผลักดันลงไปในองค์กรโดยผู้บริหารทั่วไป จงสนับสนุนให้พวกเขาคิดอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับงานของเขาจงฟังให้มากขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ยากกว่าที่คิดคุณจำเป็นต้องจัดการกับนิสัยการคิดของคุณด้วยเจตนาที่ให้ความสนใจมากขึ้นกับสิ่งที่พนัก งานได้บอกคุณมากกว่าสิ่งที่คุณคิดด้วยตัวคุณจงทำสิ่งนี้แล้วการปฎิบัติงานให้ร้านของคุณจะดีขึ้นเป็นลำดับ

 สรุปประเด็น

·  หมั่นตรวจสอบสินค้าในร้านทุกๆ วัน  

·  จัดทำแผนการหรือตารางประจำวัน

·  คิดให้มากและหนักยิ่งขึ้น

·  ใส่ความพยายามลงไปในร้านของคุณ 

·  อย่ารอคอยแรงจูงใจ

·  จงรู้จักธุรกิจ SMEs ของคุณให้ถ่องแท้

·  นำลักษณะนิสัยของผู้บริหารที่ดีไปใช้  

·  อย่านำนิสัยที่ไม่ดีต่อไปนี้มาใช้ในการทำงาน

·   จงฟังพนักงานของคุณ



กรณีศึกษา

จากหนังสือ  พิชิตธุรกิจอย่างมืออาชีพ ชุดบันไดสู่ความมั่งคั่งเล่มที่ 2
โดย ดร.กฤษดา เสกตระกูลและคณะ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด
http://www.value.co.th/company/value_profile_Thai.ppt

เดอะแวลลูซิสเตมส์ เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าด้านไอทีรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้ากว่า 20 ยี่ห้อ ผ่านดีลเลอร์กว่า 4,000 แห่ง และยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
คุณณรงค์ อิงค์ธเนศ ประธานกรรมการบริหารของเดอะแวลลูซิสเตมส์ ก่อตั้งบริษัทขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2531 ด้วยเงินทุนเพียง 500,000 บาท และมียอดขายเริ่มต้นจาก 30 ล้านบาทในปีแรก จนปัจจุบันสามารถทำยอดขายสูงถึงกว่า 4,000 ล้านบาท
คุณณรงค์ อิงค์ธเนศ ไปอยู่สหรัฐอเมริกา 9 ปีตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมจนจบ MBA ได้เรียนรู้ชีวิตที่ต้องช่วยเหลือตนเอง ต้องขยันขันแข็ง ต้องทำงานหาค่าใช้จ่ายเอง จนกลับมาช่วยธุรกิจของคุณพ่อด้านคอมพิวเตอร์ที่สหวิริยา โดยช่วยทำงานด้านการตลาดอยู่ที่นั่น 5 ปี  คุณณรงค์ อิงค์ธเนศ ใช้ลูกตื้อตั้งแต่แวะไปหาคู่ค้า ระหว่างที่ไปฮันนีมูนที่ญี่ปุ่น ยอมทำงานในวันหยุดไปตื้อ ทั้งหมดนี้ช่วยให้  Epson  ยอมใจอ่อนตั้งเขาเป็นเอเย่นต์ในประเทศไทย และนั่นก็เป็นก้าวสำคัญอันหนึ่งสู่ความสำเร็จในวันนี้
คุณณรงค์ อิงค์ธเนศมีแนวคิดในการสร้างธุรกิจให้เติบโต ดังนี้
1.      เน้นทำธุรกิจที่ถนัด ไม่ทำสะเปะสะปะ
2.      ต้องมองตลาดก่อน เลือกอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ
3.      ทำให้สิ่งที่มีประสบการณ์
4.      สามารถหาบุคลากรที่เหมาะสมกับธุรกิจที่ทำงานอยู่
5.      ทำเท่าที่เงินอำนวย
6.      หาหุ้นส่วนมาเสริมจุดที่ตนเองอ่อน
กว่าธุรกิจของเดอะแวลลูซิสเตมส์ จะมั่นคงก็ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ในช่วง 5-6 ปีแรกทำธุรกิจได้เงินมาเท่าไรจ่ายธนาคารเสียเกือบหมด กว่าจะยืนได้อย่างมั่นคงก็ผ่านไปแล้วหลายปี
                ปัญหาด้านการตลาด โดยเฉพาะการแข่งขันจากสินค้าหนีภาษี ภาษีนำเข้าที่แพงมากทำให้มีสินค้าหนีภาษีเข้ามาแย่งตลาดมากมาย คุณณรงค์ อิงค์ธเนศ จึงต้องสู้ด้วยการใช้กลยุทธ์การตลาดด้านอื่นเสริม เช่น การรับประกันสินค้า 3 ปี ขณะที่ที่อื่นรับประกันเพียง 3 เดือน แต่สำหรับเดอะแวลลูซิสเตมส์รับประกัน 3 ปี ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดีจากลูกค้า จนได้รับการเชื่อมั่นอย่างแพร่หลาย
คุณณรงค์ อิงค์ธเนศ ทำการ Reengineering องค์กรสร้างระบบใหม่ในปี 1995 โดยใช้เวลาครึ่งปีแรกเขียนแผนธุรกิจ ต่อมาปี 1996 เป็นปีพัฒนาระบบและปี 1997 เริ่มปฏิบัติ
หลังจากที่วางระบบการจัดการที่ดีแล้ว เดอะแวลลูซิสเตมส์ก็ก้าวกระโดดอีกครั้งหนึ่ง จนปัจจุบันนี้มียอดขายกว่า 4,000 ล้านบาท มีอัตรากำไรเหนือคู่แข่งอันดับถัดไปถึงกว่า 4 เท่า
คุณณรงค์ อิงค์ธเนศ วิเคราะห์ว่า ความสำเร็จมาจากการเน้นธุรกิจ ควบคุมค่าใช้จ่ายมีระบบการจัดการที่ดี มีผู้บริหารที่มีประสบการณ์ เดอะแวลลูซิสเตมส์ยังต้องขยายตัวต่อไป ธุรกิจในอนาคตจะไม่จำกัดอยู่แค่การจัดจำหน่ายสินค้าไอทีเท่านั้น แต่จะขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมอื่น โดยผ่านช่องทางจัดจำหน่ายเดียวกัน เช่น สินค้า telecom, office equipment เป็นต้น

โอกิตั้งแวลลูฯช่วยทำตลาดหวังเพิ่มส่วนแบ่งเท่าตัว

นายฮิโรยูกิ ซาอิกิ ประธาน บริษัท โอกิ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เปิดเผยว่า บริษัทแต่งตั้งบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ เพื่อขยายช่องทางการจัดจำหน่าย และเพิ่มศักยภาพการบริการหลังการขายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ผ่านทางเครือข่ายของบริษัท เดอะแวลลูซิสเตมส์ ซึ่งมีอยู่กว่า 4,000 แห่งทั่วประเทศ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนที่ช่วยผลักดันให้ส่วนแบ่งการตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบันกว่า 10% เพิ่มขึ้นเป็น 20% ภายในปีนี้
ด้านนายชนินทร์ ศรีผดุงกุล ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท โอกิ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงแนวทางทางการตลาดในปีนี้ว่า บริษัทจะเน้นที่การสร้างแบรนด์เป็นหลัก โดยให้ตัวแทนจำหน่ายทำหน้าที่ทางการตลาด ซึ่งในปีนี้มีงบด้านการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ 10 ล้านบาท นอกจากนี้จะเน้นไปที่ตัวสินค้า โดยจะผลักดันสินค้าตัวใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง สำหรับในปีนี้ บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นที่สินค้าหลักทั้งสอง คือ เครื่องพิมพ์ ทั้งชนิดหัวเข็ม (ดอทเมตริกซ์) และชนิดเลเซอร์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม โดยบริษัทมีแผนจะนำเครื่องพิมพ์เลเซอร์สีราคาต่ำกว่า 5 หมื่นบาท 3 รุ่น และเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ 2 รุ่น ออกวางตลาดในเดือนมีนาคมนี้ ด้านสัดส่วนรายได้หลักของบริษัทยังคงมาจากเครื่องพิมพ์เป็นหลัก คาดว่าจะเทียบสัดส่วนแล้วคิดเป็น 90% ของรายได้รวม และอุปกรณ์โทรคมนาคมจะทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 10%
นายชนินทร์ กล่าวต่อว่า เมื่อปีที่ผ่านมาบริษัท มีส่วนแบ่งการตลาดเครื่องพิมพ์ดอทเมตริกซ์อยู่ประมาณ 10% จากยอดขายรวมทั้งหมดประมาณ 8 หมื่นเครื่อง ส่วนเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตมียอดขายทั้งหมด 4 แสนเครื่อง ขณะที่เครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นมียอดขายรวมทั้งหมดในตลาดประมาณ 6.5 หมื่นเครื่อง ส่วนในปีนี้คาดว่ายอดขายรวมของเครื่องพิมพ์ประเภทดอทเมตริกซ์จะลดลงไปเหลือประมาณ 7.6 หมื่นเครื่อง ส่วนเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 แสนเครื่อง และเครื่องพิมพ์เลเซอร์เพิ่มขึ้นเป็น 7.5 หมื่นเครื่อง ด้านตลาดในแถบอินโดจีนที่โอกิ ประเทศไทยดูแลอยู่ในขณะนี้ มีมูลค่าการส่งออกเมื่อปีที่แล้วประมาณ 10 ล้านบาท โดยประเทศเวียดนามเป็นตลาดที่มีการพัฒนาเร็วที่สุด ล่าสุดจึงได้มีการตกลงให้โอนย้ายตลาดประเทศเวียดนามไปอยู่ภายใต้การดูแลของโอกิ ประเทศสิงคโปร์

บทความโดย ผศ.กิตติภูมิ  มีประดิษฐ์

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top