ss ภารกิจที่ผู้ประกอบการควรทำให้ชัดเจน - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

ภารกิจที่ผู้ประกอบการควรทำให้ชัดเจน

ในการวางแผนการเดินทาง จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณควรจะรู้ถึงจุดหมาย เช่นเดียวกับการประกอบธุรกิจ SMEs รายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจขนาดเล็กก็คือ การบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางของการเดินทางนั่นเอง ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของธุรกิจที่ชัดแจ้ง เพื่อเป็นเครื่องมือเบื้องต้นของการประกอบการ


ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นกิจการใหม่ หรือการควบคุมธุรกิจที่ดำเนินอยู่แล้ว ตลอดจนการเปิดแฟรนไชส์ รายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจสามารถช่วยในการตัดสินใจลงไปว่า ธุรกิจควรจะมีจุดยืนในตลาดอย่างไร รายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจอาจมีข้อความที่ชัดเจนและกระชับ หรือไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ หากไม่มีรายละเอียดดังกล่าวที่คิดไว้ล่วงหน้า ก็ย่อมพบปัญหาในการสิ้นเปลืองเวลาและเงินทองโดยเปล่าประโยชน์ เนื่องจากความพยายามที่จะดำเนินการในหลาย ๆ ทิศทางในเวลาเดียวกัน

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs อย่างมากทีเดียว ต่อไปนี้คือขั้นตอนต่าง ๆ ในการพัฒนาแผนงานเชิงกลยุทธ์ที่สามารถใช้การได้โดยทั่วไปแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจของบริษัทเป็นเป้าหมายทางการเงินและการตลาดประมาณการสภาพของธุรกิจ รวมทั้งแนวโน้มทางเศรษฐกิจในตลาดเป้าหมาย สถานการณ์การแข่งขันใจตลาด จากนั้นพยายามเสนอภาพสิ่งที่ธุรกิจน่าจะเป็นไปให้น่าเชื่อที่สุด เช่นมีตัวเลขการเงินสนับสนุน และหาวิธีจะให้ธุรกิจเดินไปในแนวทางอุตสหกรรมนั้นได้จริงโดยมีเหตุผลที่มั่นใจมาสนับสนุนการวิเคราะห์การตรวจสอบ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค เรียกว่า การวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในลุ่มนักวางแผนงานธุรกิจทั้งหลาย โดยไม่จำกัดขนาดของธุรกิจ เพื่อพัฒนาแนวทางเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย และข้อได้เปรียบเชิงแข่งขัน ส่วนประกอบสำคัญที่ต้องมีอยู่ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ ตลาดการเงิน และการบริหาร

การอธิบายกระบวนการวางแผนงานทั้งหมด พยายามให้มีความสลับซับซ้อนน้อยที่สุด แต่อย่างน้อยต้องมีเป้าหมายและนโยบายการทำความเข้าใจถึงภารกิจของธุรกิจ กลยุทธ์หลัก และกลยุทธ์รองอะไรบ้างที่จะนำมาใช้ในการจัดตั้งธุรกิจ และกำหนดทิศทางว่ามีขั้นตอนอย่างไร แผนการดำเนินงาน และผังการจัดองค์กรที่จำเป็นต่อการดำเนินกลยุทธ์ และการวางตัวบุคคลถึงแม้ว่าจะไม่มีแผนงานที่รับประกันความสำเร็จที่มีความพร้อมสมบูรณ์ แต่อย่างน้อยทุกแผนงานก็ควรต้องประกอบด้วยข้อพิจารณาเกี่ยวกับทางด้านการตลาด การเงิน และการบริหารโดยมีเครื่องชี้วัด ความสำเร็จที่มั่นใจ

ภารกิจที่ผู้ประกอบการควรทำให้ชัดเจน ปัจจัยสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ มีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 จำแนกจำนวนรายได้ ที่คุณต้องการจากธุรกิจในรอบปีบัญชี ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงงบกระแสรายได้และรายจ่ายสำหรับในปีแรกของการดำเนินการของบริษัท

ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาตลาด เพื่อกำหนดเป้าหมายของยอดขายที่ได้ในขั้นตอนที่ 1 คุณสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเสียเวลา และเงินทองโดยยกเลิกแผนในจุดนี้ และเลือกแนวทางอื่นได้

ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนเกี่ยวกับงบดุลล่วงหน้า  ให้ระบุบัญชีทรัพย์สินที่จะนำมาใช้พร้อมกับราคาจริง พร้อมกับประเมินราคาทรัพย์สินแต่ละอย่างไว้ให้เรียบร้อยเพื่อกำหนดวงเงินลงทุน

ขั้นตอนที่ 4 กำหนดแหล่งของรายได้และเงินทุน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจให้ดีในการเขียนคำขอกู้ถ้าต้องการ

ขั้นตอนที่ 5 เลือกรูปแบบขององค์กรที่เหมาะสม ถูกต้องตามกฎหมาย ศึกษาทำเลที่ตั้งและคุณลักษณะพิเศษตามความต้องการของบริษัท

ขั้นตอนที่ 6 สร้างแผนงานขายและการกระจายสินค้าสำหรับบริษัท หมั่นแสวงหาสินค้าและบริการที่ลูกค้าต้องการ และขายด้วยวิธีสร้างความประทับใจ จากนั้นก็จัดหาสินค้าไปจำหน่ายในสถานที่เหมาะสมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม

ขั้นตอนที่ 7 พิจารณารูปแบบพฤติกรรมของลูกค้าและผู้บริโภค หลักในการวางจำหน่ายสินค้าที่ดีและการทำคามเข้าใจถึงพฤติกรรมองผู้บริโภคล้วนแต่เป็นการสร้างอุปนิสัยในการซื้อให้กับลูกค้า และทัศนคติในเรื่องประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานของร้านนั้น

ขั้นตอนที่ 8 กำหนดนโยบายด้านทรัพยากรบุคคลพร้อมทั้งปลูกฝังกฎทางจริยธรรม พนักงานที่มีคุณภาพอาจมีความสำคัญต่อกิจการขนาดเล็กมากกว่ากิจการขนาดใหญ่เสียด้วยซ้ำ

ขั้นตอนที่ 9 วิเคราะห์ด้วยว่าคุณจะบริหารดำเนินงานอย่างไร และจะกำหนดเป้าหมายอัตราผลผลิตเช่นไร ในขณะที่กำลังปฏิบัติงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ขั้นตอนที่ 10 ทบทวนดูว่าควรให้เครดิตแก่ลูกค้าหรือบริการเครดิตอย่างไร ซึ่งนับเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก การขายสินค้าที่จ่ายผ่านบัตรเครดิต สามารถทำให้กระแสเงินสดก็จริง แต่มันทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงในหมวดดอกเบี้ยเช่นกัน

ขั้นตอนที่ 11 สร้างระบบที่ได้จากคลังข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในเวลาที่คุณต้องบการจัดเตรียมรายงานเสนอเอเอสิทธิประโยชน์ เช่น การทำเรื่องขอคืนภาษี และวิเคราะห์การดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 12 การทบทวนความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ  และตัดสินใจให้แน่ชัดว่าจะจัดการอย่างไรดี ยิ่งถ้าเรารู้เกี่ยวกับความเสี่ยงรอบตัวมากขึ้นเท่าไร เราก็จะยิ่งสามารถเตรียมความพร้อมของบริษัทเพื่อป้องกันมิให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงได้มากขึ้นเท่านั้น และตรวจสอบกฎหมายระเบียบข้อบังคับที่มีผลต่อธุรกิจ เพื่อที่จะได้ไม่เผลอฝ่าฝืนโดยไม่ตั้งใจ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดเล็ก ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า และการคุ้มครองผู้บริโภค

บทความโดย คุณพีระพงษ์  กิติเวชโภคาวัฒน์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แฟรนคอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top