ss แปรรูปผักหวานป่า เป็นใบชาเพื่อสุขภาพ งานอาชีพสร้างรายได้ - อาชีพเสริมแก้จน

ติดต่อโฆษณา

แปรรูปผักหวานป่า เป็นใบชาเพื่อสุขภาพ งานอาชีพสร้างรายได้


ความนิยมของคนไทยที่หันมาดื่มชาเขียวญี่ปุ่นกันมาก ประกอบกับคุณสมบัติที่เหมาะสมของผักหวานป่า ซึ่งเป็นพืชผักท้องถิ่นที่มีสารต้านอนุมูลอิสระทั้งวิตามิน A, C, D และ K ถึง 5.48 เปอร์เซ็นต์ ทำให้นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ศึกษาถึงการแปรรูปผักหวานป่าเป็นชาเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้ที่สนใจนำความรู้ไปต่อยอดผลิตเป็นอาชีพได้

วิธีผลิตชาจากผักหวานป่า เริ่มจากนำยอดสดผักหวานป่า มาเด็ดเอาเฉพาะส่วนยอดอ่อน และใบ มาล้างน้ำให้สะอาด กรองด้วยผ้าขาวบาง ไม่ให้เศษผักหลุด เขย่าให้สะเด็ดน้ำ ผึ่งลมให้แห้ง แต่ไม่ควรนำไปตากแดดเพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินไป นำไปคั่วด้วยไฟอ่อนที่สุด จนใบแห้งและม้วนตัว ให้ใช้มือคลึง จนใบเริ่มจับตัวกัน นำไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 7 ชั่วโมง จนแห้ง ให้บด บรรจุซองสำหรับใส่ชาขนาด 2 กรัม

ผักหวานป่าสดน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เด็ดก้านออกจะเหลือน้ำหนักสด160  กรัม นำไปผ่านกระบวนการคั่ว และอบแห้งแล้ว จะมีน้ำหนักเหลือ 60 กรัม บรรจุซองได้ 30 ซอง มีต้นทุนรวมค่าบรรจุภัณฑ์อยู่ที่ 150 – 160 บาท ขายได้ในราคา 220 บาท ถือว่ามีราคาถูกกว่าชาเขียวชนิดอื่นๆ ในท้องตลาด โดยชาผักหวานป่านี้มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มีกลิ่นหอม รสหวาน และฝาดเล็กน้อยตามธรรมชาติ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในกลุ่มผู้รักสุขภาพ เกษตรกรและผู้สนใจสามารถขอรายละเอียดเพื่อนำไปผลิตเป็นอาชีพได้

ชาผักหวานป่า ครื่องดื่มทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ

   ผักหวานป่าเป็นพืชจัดอยู่ในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง สูง 6-10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร ใบอ่อนรูปร่างรีเล็กปลายแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบกรอบและเปราะ ปลายใบมน ใบมีขนาด 5 X12 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ดอกและผลมีลักษณะเป็นช่อ เกิดตามกิ่งแก่และลำต้นหลัก ผลรูปร่างรี ขนาด 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มเมื่อแก่ต้นผักหวานป่าที่เจริญเติบโตในสภาพป่า ธรรมชาตินั้น สามารถมีอายุยืนยาวหลายปี บางต้นมีอายุได้มากกว่าร้อยปี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยสถานีวิจัยพืชลำตะคอง จึงได้ศึกษาการปลูกและการขยายพันธุ์ผักหวานป่า เพื่อลดการเก็บเกี่ยวผักหวานป่าในเชิงการค้ามากขึ้น ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผักหวานป่าสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งได้ และมีอัตราการเกิดรากสูงถึง 70-80 เปอร์เซนต์

ชาผักหวานป่า ประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี สารประกอบฟีโนลิค ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกายและป้องกัน การเกิดโรคต่างๆ อันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย ทั้งนี้ วว. ได้ศึกษาคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นจากชาเขียวผักหวานป่า พบว่าค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ 50 เปอร์เซนต์ ( IC 50 ) ของชาผักหวานป่า เท่ากับ 5.48 เปอร์เซนต์ ( v/v ) ซึ่งดีกว่าชาใบหม่อนและชาดอกคำฝอย รวมทั้งได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์พิษเฉียบพลันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ชาผักหวานป่า

คุณสมบัติ

ช่วยแก้กระหายน้ำและทำให้ชุ่มคอ หากดื่มเป็นประจำยังส่งผลดีต่อร่างกาย เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี สารประกอบฟีนอลิค ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่น อันเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ อันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย เช่นโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน และการเสียสมดุลของร่างกายเป็นต้น

ผลจากการศึกษา

เปรียบเทียบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณวิตามินซี และปริมาณฟันอคิลของชาผักหวานผ่ากับชาใบหม่อน ชาใบแปะก๊วย และชาดอกคำฝอย พบว่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของชาผักหวานป่าสูงกว่าชาใบหม่อน ชาดอกคำฝอย แต่ต่ำกว่าชาแปะก๊วย โดยความเข้มข้นที่ยับยั้งการเกิดปฎิกิริยาออกซิเดชั่นได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ของผักหวานป่าเท่ากับ 5.48เปอร์เซ็นต์ (v/v) รวมทั้งชาผักหวานป่าได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์พิษเฉียบพลันเป็นที่เรียบร้อย

วิธีชงชาผักหวานป่า

คล้ายกับการชงชาทั่วไป โดยใช้ผักหวานป่า 1 ช้อนชา หรือน้ำหนัก 2 กรัม ต่อน้ำร้อน 100 มิลลิกรัม อุณหภูมิ 90-95 องศาเซลเซียส ชงในน้ำร้อนนาน 3 นาที สามารถเติมน้ำร้อนได้ 3 ครั้ง ชงดื่มแทนน้ำได้ตลอดทั้งวัน

ชาผักหวาน ของ วว. มีรสชาติคล้ายกับชาเขียวจากญี่ปุ่น ใช้ดื่มแก้กระหายชุ่มคอ และยังดีต่อสุขภาพ นับเป็นเครื่องดื่มทางเลือกใหม่สำหรับผู้นิยมดื่มชาเพื่อสุขภาพรวมทั้งช่วย ส่งเสริมให้เกิดอาชีพแก่เกษตรกรผู้ปลุกผักหวานป่ามีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีวิจัยพืชลำตะคอง วว. โทร. 044 390 107
ชาผักหวานป่า ครื่องดื่มทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ
   ผักหวานป่าเป็นพืชจัดอยู่ในวงศ์ Opiliaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre เป็น ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง สูง 6-10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 20 เมตร ใบอ่อนรูปร่างรีเล็กปลายแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบกรอบและเปราะ ปลายใบมน ใบมีขนาด 5 X12 เซนติเมตร ก้านใบสั้น ดอกและผลมีลักษณะเป็นช่อ เกิดตามกิ่งแก่และลำต้นหลัก ผลรูปร่างรี ขนาด 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มเมื่อแก่ต้นผักหวานป่าที่เจริญเติบโตในสภาพป่า ธรรมชาตินั้น สามารถมีอายุยืนยาวหลายปี บางต้นมีอายุได้มากกว่าร้อยปี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยสถานีวิจัยพืชลำตะคอง จึงได้ศึกษาการปลูกและการขยายพันธุ์ผักหวานป่า เพื่อลดการเก็บเกี่ยวผักหวานป่าในเชิงการค้ามากขึ้น ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผักหวานป่าสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งได้ และมีอัตราการเกิดรากสูงถึง 70-80 เปอร์เซนต์
   ชา ผักหวานป่า ประกอบด้วย สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี สารประกอบฟีโนลิค ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกายและป้องกัน การเกิดโรคต่างๆ อันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย ทั้งนี้ วว. ได้ศึกษาคุณสมบัติในการต้านออกซิเดชั่นจากชาเขียวผักหวานป่า พบว่าค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ 50 เปอร์เซนต์ ( IC 50 ) ของชาผักหวานป่า เท่ากับ 5.48 เปอร์เซนต์ ( v/v ) ซึ่งดีกว่าชาใบหม่อนและชาดอกคำฝอย รวมทั้งได้ผ่านการตรวจวิเคราะห์พิษเฉียบพลันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
   สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีวิจัยพืชลำตะคอง วว. โทร. ( 044 ) 390107

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP

ธุรกิจขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ Amazon KDP
E-book “คำภีร์ขายสมุดโน้ตเงินล้านออนไลน์ ลงทุน 0 บาท สำหรับมือใหม่”
Back To Top